นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงกรณีที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เรียกประชุมผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ และมีมติควบคุมราคาขายไข่ไก่หน้าฟาร์มที่ฟองละ 3.30 บาท จากเดิมฟองละ 3.20 บาทว่า เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่มีบทสรุป ให้ราคาไข่คละหน้าฟาร์มไม่เกินฟองละ 3.30 บาท เพิ่มให้อีก 10 สตางค์ จากเดิม 3.20 บาท เท่ากับให้ขายแพงกว่าเดิม ดังนั้นตนจึงขอฟันธงว่าราคา ไข่คละหน้าฟาร์มจะเพิ่มขึ้นเต็มเพดานที่นายณัฐวุฒิกำหนดคือ 3.30 บาทต่อฟองเร็วๆ นี้ ซึ่งการกระทำของนายณัฐวุฒิ เป็นสิ่งที่ตนเพิ่งเคยเห็นว่ารัฐมนตรีแก้ปัญหาของแพงด้วยการกำหนดราคาให้แพงขึ้น และเท่ากับว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นจากฟองละ 57 สตางค์ เป็น 67 สตางค์ ซึ่งจะทำให้ประชาชนต้องซื้อไข่ราคาแพงมากขึ้น โดยในท้องตลาดจะอยู่ที่ราคา 4 บาทเศษ
นายชวนนท์ กล่าวต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์เคยถูกล้อเลียน เรื่องไข่ชั่งกิโลแต่ราคาไข่คละหน้าฟาร์มสูงสุด ที่ฟองละ 2.90 บาท โดยรัฐบาลเข้าไปควบคุมราคาให้ผู้ผลิตอยู่ได้ และผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาที่เหมาะสม แต่รัฐบาลนี้กลับปล่อยให้ราคาไข่คละหน้าฟาร์มไปอยู่ที่ 3.20 บาท แพงกว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ถึง 30 สตางค์
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งเอ็นจีวี และแอลพีจี ซึ่งในส่วนของแท็กซี่มิเตอร์มีการขอปรับขึ้น จากเดิม 35 บาท เป็น 40 บาท และเพิ่มอีก 20% ของค่าโดยสารเฉลี่ยต่อกิโลเมตร รวมถึงเพิ่มราคาช่วงรถติดจากนาทีละ 1.50 บาท เป็นนาทีละ 2 บาท ถือเป็นสภาวะข้าวยากหมากแพงที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนแต่รัฐบาลไม่มีมาตรการแก้ปัญหานอกจากจะปรับราคาเอ็นจีวี และแอลพีจีเพิ่มขึ้น รวมถึงแก๊สหุงต้มที่จะเป็นภาระให้กับประชาชนมากขึ้นด้วย
ด้าน ร.ท. (หญิง)สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงตอบโต้ว่า ถือเป็นเรื่องของกลไกราคา กลไกตลาด รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์มีกลไกในการเข้าไปดูแล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลพ่อค้าแม่ค้าเช่นกัน
นายชวนนท์ กล่าวต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์เคยถูกล้อเลียน เรื่องไข่ชั่งกิโลแต่ราคาไข่คละหน้าฟาร์มสูงสุด ที่ฟองละ 2.90 บาท โดยรัฐบาลเข้าไปควบคุมราคาให้ผู้ผลิตอยู่ได้ และผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาที่เหมาะสม แต่รัฐบาลนี้กลับปล่อยให้ราคาไข่คละหน้าฟาร์มไปอยู่ที่ 3.20 บาท แพงกว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ถึง 30 สตางค์
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งเอ็นจีวี และแอลพีจี ซึ่งในส่วนของแท็กซี่มิเตอร์มีการขอปรับขึ้น จากเดิม 35 บาท เป็น 40 บาท และเพิ่มอีก 20% ของค่าโดยสารเฉลี่ยต่อกิโลเมตร รวมถึงเพิ่มราคาช่วงรถติดจากนาทีละ 1.50 บาท เป็นนาทีละ 2 บาท ถือเป็นสภาวะข้าวยากหมากแพงที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนแต่รัฐบาลไม่มีมาตรการแก้ปัญหานอกจากจะปรับราคาเอ็นจีวี และแอลพีจีเพิ่มขึ้น รวมถึงแก๊สหุงต้มที่จะเป็นภาระให้กับประชาชนมากขึ้นด้วย
ด้าน ร.ท. (หญิง)สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงตอบโต้ว่า ถือเป็นเรื่องของกลไกราคา กลไกตลาด รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์มีกลไกในการเข้าไปดูแล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลพ่อค้าแม่ค้าเช่นกัน