นายปฏิภาณ จุมผา ผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ 6 สถาบันการศึกษาใน จ.ลำปาง จัดเวทีความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมนครลำปางและการจัดการลุ่มน้ำวัง เพื่อสรุปผลการดำเนินงานความร่วมสร้าง "นครลำปางโมเดล" และระดมแนวทางการพัฒนาเสริมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองเชื่อมโยงงานวิชาการท้องถิ่น เพื่อเป็นเครื่องมือหนุนพื้นที่และสร้างคนรุ่นใหม่ อันจะนำไปสู่การป้องกันผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงภายนอกและการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติได้ โดย 5 ตำบลนำร่อง ประกอบด้วย บ้านทุ่ง ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน บ้านขอ ต.บ้านขอ อ.เมืองปาน บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง บ้านต้นฮ่างพัฒนา ต.บ้านค่า อ.เมืองปาน และบ้านแม่ตาลน้อย ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร
ผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือ พอช. กล่าวว่า การดำเนินโครงการบนแนวคิดนครลำปางโมเดล กว่า 1 ปีที่ผ่านมา เป็นการเป็นรวมตัวของนักวิชาการ 6 สถาบันในจังหวัดลำปาง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาลำปาง มหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง สร้างแนวคิดการพัฒนาชุมชน-อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ บนฐานความเชื่อว่า ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงย่อมมีหลายภาคส่วนทั้งชุมชน นักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษา โดยหวังว่าจะต่อยอดเยาวชนให้คิดจัดการปัญหาชุมชนได้ ซึ่งนักศึกษาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใน ทีมระบบข้อมูล ทีมพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน และทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวว่า นครลำปางโมเดล เป็นการขับเคลื่อนในรูปแบบใช้ความร่วมมือเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งในสถาบันการศึกษาควบคู่กับชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริงผลิตผลของนครลำปางโมเดลทำให้ประสบการณ์นอกห้องเรียนเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการสร้างแรงบันดาลใจรักษ์บ้านเกิดแก่เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือ พอช. กล่าวว่า การดำเนินโครงการบนแนวคิดนครลำปางโมเดล กว่า 1 ปีที่ผ่านมา เป็นการเป็นรวมตัวของนักวิชาการ 6 สถาบันในจังหวัดลำปาง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาลำปาง มหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง สร้างแนวคิดการพัฒนาชุมชน-อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ บนฐานความเชื่อว่า ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงย่อมมีหลายภาคส่วนทั้งชุมชน นักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษา โดยหวังว่าจะต่อยอดเยาวชนให้คิดจัดการปัญหาชุมชนได้ ซึ่งนักศึกษาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใน ทีมระบบข้อมูล ทีมพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน และทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวว่า นครลำปางโมเดล เป็นการขับเคลื่อนในรูปแบบใช้ความร่วมมือเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งในสถาบันการศึกษาควบคู่กับชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริงผลิตผลของนครลำปางโมเดลทำให้ประสบการณ์นอกห้องเรียนเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการสร้างแรงบันดาลใจรักษ์บ้านเกิดแก่เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ