นางมุกดา อินต๊ะสาร ผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชน เปิดเผยว่า งบประมาณสนับสนุนสวัสดิการชุมชนที่เสนอจำนวน 1,200 ล้านบาท แต่ถูกสำนักงบประมาณปรับลดทั้งหมด เป็นงบสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนใหม่และสมทบ (กองทุนละ 70,000 บาท) 110 ล้านบาท งบสมทบรายหัวคนละ 365 บาท จำนวน 2,359,326 คน จำนวน 862 ล้านบาท และงบประมาณการขับเคลื่อนงานของขบวนองค์กรชุมชนทั้งระดับจังหวัดและระดับชาติ 228 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นงบประมาณที่รัฐมีภาระในการสนับสนุนงบประมาณเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับระบบสวัสดิการสังคมอื่นๆที่รัฐต้องสนับสนุน เช่นสวัสดิการข้าราชการ(ข้าราชการและครอบครัวประมาณ 5 ล้านคน) ปีละ 60,000 ล้าน รักษาพยาบาลฟรี ปีละ 100,000 ล้าน กองทุนประกันสังคมประมาณปีละ 20,000 ล้าน เรียนฟรีปีละประมาณ 50,000 ล้าน เป็นต้น
ผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชน กล่าวว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยการเป็นการสนับสนุนของภาครัฐในช่วงแรกดำเนินการผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.) และที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากทุกรัฐบาล ทำให้สามารถจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนไปแล้ว 5,577 กองทุน มีสมาชิก 3,425,898 คน เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 21 เด็ก/เยาวชนร้อยละ 20 และคนด้อยโอกาสร้อยละ 3 ของสมาชิกทั้งหมด สมาชิกที่เข้าร่วมมาจาก 51,030 หมู่บ้าน
ผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชน กล่าวว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยการเป็นการสนับสนุนของภาครัฐในช่วงแรกดำเนินการผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.) และที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากทุกรัฐบาล ทำให้สามารถจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนไปแล้ว 5,577 กองทุน มีสมาชิก 3,425,898 คน เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 21 เด็ก/เยาวชนร้อยละ 20 และคนด้อยโอกาสร้อยละ 3 ของสมาชิกทั้งหมด สมาชิกที่เข้าร่วมมาจาก 51,030 หมู่บ้าน