วันนี้ (2 พ.ค.) สมาชิกรัฐสภา 312 คน ออกแถลงการณ์เป็นจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชน เพื่อประกาศเจตนารมณ์คัดค้านการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า สมาชิกรัฐสภาที่ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 312 คน ซึ่งถือเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เห็นว่าการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามที่มีผู้ยื่นคำร้องกล่าวหาว่า เป็นการล้มล้างการปกครอง หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และปราศจากอำนาจ เพราะการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา โดยไม่มีถ้อยคำใดที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบกระบวนการเสนอ และพิจารณารัฐธรรมนูญแตกต่างจากการตราพระราชบัญญัติมาใช้ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบธรรมของการร่างพระราชบัญญัติได้
นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังระบุว่า รัฐสภามีความชอบธรรมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ว่ามาตราใดและอย่างไร เพราะโดยหลักการ แม้รัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุด แต่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เป็นอำนาจรัฐสภาที่จะดำเนินการได้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ควรดำเนินการใดๆ ในลักษณะที่ไม่เคารพคำวินิจฉัยเดิม
ทั้งนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งหลักความเป็นกฎหมาย หลักการแบ่งแยกอำนาจ และเกียรติภูมิของสถาบันรัฐสภา โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจอ้างผลแห่งคำวินิจฉัยในกรณีนี้ ว่าเป็นเด็ดขาด และผูกพันกับองค์กรต่างๆ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นเด็ดขาด และผูกพันกับองค์กรต่างๆ ได้ จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย และอยู่ในขอบเขตที่ศาลรัฐธรรมนูญทำได้เท่านั้น
นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังระบุว่า รัฐสภามีความชอบธรรมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ว่ามาตราใดและอย่างไร เพราะโดยหลักการ แม้รัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุด แต่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เป็นอำนาจรัฐสภาที่จะดำเนินการได้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ควรดำเนินการใดๆ ในลักษณะที่ไม่เคารพคำวินิจฉัยเดิม
ทั้งนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งหลักความเป็นกฎหมาย หลักการแบ่งแยกอำนาจ และเกียรติภูมิของสถาบันรัฐสภา โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจอ้างผลแห่งคำวินิจฉัยในกรณีนี้ ว่าเป็นเด็ดขาด และผูกพันกับองค์กรต่างๆ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นเด็ดขาด และผูกพันกับองค์กรต่างๆ ได้ จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย และอยู่ในขอบเขตที่ศาลรัฐธรรมนูญทำได้เท่านั้น