สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดประชุมแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสหน่วยงานภาครัฐ โดยมี 8 หน่วยงานนำร่องรับทราบ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นการประยุกต์แนวคิดการประเมินคุณธรรม การดำเนินงานของประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี ให้เข้ากับแนวคิดดัชนีความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ ที่ สำนักงาน ป.ป.ช.ดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งแนวทางการประเมินจะใช้วิธีการขอข้อมูลเอกสาร การสอบถาม รวมทั้งขอข้อมูลจากผู้รับบริการ เพื่อรวบรวมจัดทำดัชนีชี้วัด เสนอหน่วยงานต้นสังกัด และ ป.ป.ช. เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รปชั่น ซึ่งเชื่อว่า จะสามารถแก้ไขและลดปัญหาการคอร์รัปชั่นได้
ทั้งนี้ นายธนวรรธน์ ยอมรับว่า การจัดอันดับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยสถาบัน หรือองค์กรต่างประเทศนั้น ประเทศไทยสอบตกมาโดยตลอด อีกทั้งจากการศึกษาพบว่า ปัญหาการคอร์รัปชั่นไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการคอร์รัปชั่นโดยการรับเงินใต้โต๊ะ หรือรับเงินพิเศษโครงการต่างๆ ของรัฐ มีการเรียกรับเงินใต้โต๊ะจากอดีตร้อยละ 10 ของมูลค่าโครงการ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25–30 บางโครงการมีการรับเงินใต้โต๊ะถึงร้อยละ 50 อีกทั้งยังพบว่า บางโครงการภาครัฐมีการตั้งมูลค่าไว้สูง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันตรวจสอบ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา เช่น โครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท รัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนมูลค่าโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นการประยุกต์แนวคิดการประเมินคุณธรรม การดำเนินงานของประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี ให้เข้ากับแนวคิดดัชนีความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ ที่ สำนักงาน ป.ป.ช.ดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งแนวทางการประเมินจะใช้วิธีการขอข้อมูลเอกสาร การสอบถาม รวมทั้งขอข้อมูลจากผู้รับบริการ เพื่อรวบรวมจัดทำดัชนีชี้วัด เสนอหน่วยงานต้นสังกัด และ ป.ป.ช. เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รปชั่น ซึ่งเชื่อว่า จะสามารถแก้ไขและลดปัญหาการคอร์รัปชั่นได้
ทั้งนี้ นายธนวรรธน์ ยอมรับว่า การจัดอันดับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยสถาบัน หรือองค์กรต่างประเทศนั้น ประเทศไทยสอบตกมาโดยตลอด อีกทั้งจากการศึกษาพบว่า ปัญหาการคอร์รัปชั่นไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการคอร์รัปชั่นโดยการรับเงินใต้โต๊ะ หรือรับเงินพิเศษโครงการต่างๆ ของรัฐ มีการเรียกรับเงินใต้โต๊ะจากอดีตร้อยละ 10 ของมูลค่าโครงการ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25–30 บางโครงการมีการรับเงินใต้โต๊ะถึงร้อยละ 50 อีกทั้งยังพบว่า บางโครงการภาครัฐมีการตั้งมูลค่าไว้สูง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันตรวจสอบ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา เช่น โครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท รัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนมูลค่าโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส