นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทในขณะนี้ ว่า เงินบาทแข็งค่ามากและเร็วเกินไป โดยจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์และการปรับตัวของภาคธุรกิจเอกชนว่าเป็นอย่างไร จำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆ ที่มีอยู่หรือไม่ พร้อมเชื่อว่าทุกมาตรการมีผลดี ผลเสีย และผลกระทบในระยะยาว จึงจำเป็นต้องใช้จังหวะเวลาที่เหมาะสม และให้เวลาภาคธุรกิจในการปรับตัวด้วย
ส่วนความกังวลว่าการแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ผ่านมา ได้นำข้อมูลต่างๆ และปัจจัยด้านผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า รวมถึงการขยายตัวของหนี้สินภาคครัวเรือน และความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน มาเป็นสมมติฐานในการคำนวณประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ ที่คาดว่าจะโตได้ร้อยละ 5.1 แล้ว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน ที่ระดับร้อยละ 2.75 ยังเอื้อต่อการขยายตัวของสินเชื่อ และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ส่วนความกังวลว่าการแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ผ่านมา ได้นำข้อมูลต่างๆ และปัจจัยด้านผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า รวมถึงการขยายตัวของหนี้สินภาคครัวเรือน และความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน มาเป็นสมมติฐานในการคำนวณประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ ที่คาดว่าจะโตได้ร้อยละ 5.1 แล้ว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน ที่ระดับร้อยละ 2.75 ยังเอื้อต่อการขยายตัวของสินเชื่อ และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย