ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล เกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงของรัฐประชาชนใน จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 1,005 คน ระหว่างวันที่ 9-13 เมษายน พบว่า ประชาชนมีความเห็นว่าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาต่อความมั่นคงของประเทศร้อยละ 48.2 ปัญหายาเสพติดร้อยละ 16.6 ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหารร้อยละ 11.0 และปัญหาการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ร้อยละ 10.8
ส่วนแนวโน้มของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังมีการพูดคุยกับกลุ่ม BRN นั้น ประชาชนเชื่อว่า ปัญหาจะเหมือนเดิม ร้อยละ 61.7 แนวโน้มปัญหารุนแรงขึ้น ร้อยละ 31.9 และแนวโน้มปัญหาคลี่คลายร้อยละ 6.4
ทั้งนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ร้อยละ 64.2 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่ม BRN ที่จะจัดให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองแบบพิเศษ ในรูปแบบมหานครปัตตานีหรือปัตตานีมหานคร ขณะที่ร้อยละ 57.9 ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งเป็นเขตปกครองแบบพิเศษ โดยยึดโมเดลอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 46.6 ไม่เห็นด้วยกับการจัดให้เป็นเขตปกครองพิเศษ ร้อยละ 59.7 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอการยกเลิกกฎหมายพิเศษ ร้อยละ 57.2 ไม่เห็นด้วยกับการถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 40.5 ไม่เห็นด้วยกับการใช้กองกำลังท้องถิ่นในการดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขณะเดียวกัน ร้อยละ 52.8 ไม่เห็นด้วยที่ในอนาคตจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งฉบับ ขณะที่ร้อยละ 17.5 เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งฉบับ และร้อยละ 29.7 ไม่แน่ใจเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งฉบับ
ส่วนแนวโน้มของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังมีการพูดคุยกับกลุ่ม BRN นั้น ประชาชนเชื่อว่า ปัญหาจะเหมือนเดิม ร้อยละ 61.7 แนวโน้มปัญหารุนแรงขึ้น ร้อยละ 31.9 และแนวโน้มปัญหาคลี่คลายร้อยละ 6.4
ทั้งนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ร้อยละ 64.2 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่ม BRN ที่จะจัดให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองแบบพิเศษ ในรูปแบบมหานครปัตตานีหรือปัตตานีมหานคร ขณะที่ร้อยละ 57.9 ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งเป็นเขตปกครองแบบพิเศษ โดยยึดโมเดลอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 46.6 ไม่เห็นด้วยกับการจัดให้เป็นเขตปกครองพิเศษ ร้อยละ 59.7 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอการยกเลิกกฎหมายพิเศษ ร้อยละ 57.2 ไม่เห็นด้วยกับการถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 40.5 ไม่เห็นด้วยกับการใช้กองกำลังท้องถิ่นในการดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขณะเดียวกัน ร้อยละ 52.8 ไม่เห็นด้วยที่ในอนาคตจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งฉบับ ขณะที่ร้อยละ 17.5 เห็นด้วยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งฉบับ และร้อยละ 29.7 ไม่แน่ใจเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งฉบับ