สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ความกังวลของประชาชนต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ท่ามกลางกรณีปราสาทพระวิหาร โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ จำนวน 2,232 ตัวอย่าง ระหว่าง วันที่ 15-19 เมษายน 56
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 56 ไทยและกัมพูชามีการแถลงด้วยวาจาต่อศาลโลก ในคดีปราสาทพระวิหาร ที่กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลโลกขอให้ตีความคำพิพากษาของศาล เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ปี 2505
เอแบคโพลล์ ระบุด้วยว่า เมื่อถามถึงความกังวลว่า กรณีนี้อาจจะนำไปสู่สงครามระหว่างไทย-กัมพูชา โพลล์ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 47.4% รู้สึกกังวลมากถึงมากที่สุด ขณะที่ 27.6% กังวลน้อยถึงไม่กังวลเลย โดย 25.0% ระบุ กังวลปานกลาง
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างสูงถึง 95.2% สนับสนุนให้ใช้การเจรจาโดยสันติวิธีเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีเพียง 4.8% ที่สนับสนุนให้ใช้กำลังทหาร
นายสุริยัน บุญแท้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวในเอกสารเผยแพร่ว่า แม้กรณีปราสาทพระวิหารจะเป็นเรื่องตึงเครียดของทั้งสองประเทศ แต่คนไทยยังต้องการรักษามิตรกับประเทศนี้ไว้ และหนุนแนวทางสันติวิธีในการแก้ปัญหา
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อาทิ การค้าชายแดน แรงงาน และการลงทุนในกัมพูชา แม้จะมีระดับความสำคัญไม่เทียบเท่ากับอธิปไตยเหนือดินแดน แต่ก็ถือว่ามีความสำคัญมากเช่นกัน จึงไม่ต้องการให้เกิดเหตุบานปลาย จนกระทบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว และหวังว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศจะมีแนวทาง ในการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติร่วมกันต่อไป
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 56 ไทยและกัมพูชามีการแถลงด้วยวาจาต่อศาลโลก ในคดีปราสาทพระวิหาร ที่กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลโลกขอให้ตีความคำพิพากษาของศาล เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ปี 2505
เอแบคโพลล์ ระบุด้วยว่า เมื่อถามถึงความกังวลว่า กรณีนี้อาจจะนำไปสู่สงครามระหว่างไทย-กัมพูชา โพลล์ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 47.4% รู้สึกกังวลมากถึงมากที่สุด ขณะที่ 27.6% กังวลน้อยถึงไม่กังวลเลย โดย 25.0% ระบุ กังวลปานกลาง
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างสูงถึง 95.2% สนับสนุนให้ใช้การเจรจาโดยสันติวิธีเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีเพียง 4.8% ที่สนับสนุนให้ใช้กำลังทหาร
นายสุริยัน บุญแท้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวในเอกสารเผยแพร่ว่า แม้กรณีปราสาทพระวิหารจะเป็นเรื่องตึงเครียดของทั้งสองประเทศ แต่คนไทยยังต้องการรักษามิตรกับประเทศนี้ไว้ และหนุนแนวทางสันติวิธีในการแก้ปัญหา
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อาทิ การค้าชายแดน แรงงาน และการลงทุนในกัมพูชา แม้จะมีระดับความสำคัญไม่เทียบเท่ากับอธิปไตยเหนือดินแดน แต่ก็ถือว่ามีความสำคัญมากเช่นกัน จึงไม่ต้องการให้เกิดเหตุบานปลาย จนกระทบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว และหวังว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศจะมีแนวทาง ในการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติร่วมกันต่อไป