นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การพบเชื้อไข้หวัดนกชนิด H7N9 ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ส่งผลให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตขณะนี้ ไม่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการผลิตและส่งออกไก่สดของไทยแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้จากมีหน่วยงานจากต่างประเทศเดินทางมาตรวจประเมินระบบการควบคุมการสัตว์ปีกของประเทศไทย เพื่อจะได้อนุญาตให้นำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดได้อีกครั้ง
ล่าสุด ประเทศกาตาร์ได้ประกาศยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากไทยแล้ว ซึ่งเป็นผลจากที่ประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการป้องกันด้านอาหารกาตาร์ ที่ได้มีมติอนุมัติยกเลิกการห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากไทย เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก และไม่พบการระบาดมาเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี ตามรายงานขององค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ โอไออี
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ส่งเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับมติอนุมัติการยกเลิกมาตรการห้ามดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการมายังกระทรวงเกษตรฯ แล้ว ซึ่งสามารถใช้เป็นการอ้างอิงสำหรับภาคเอกชนในการส่งออกเนื้อไก่ไทยไปยังประเทศกาตาร์ได้ทันที
นายยุคล กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศการ์ตาซึ่งเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่มรัฐอ่าวอาหรับ หรือ GCC ได้ยึดเอาบรรทัดฐานของรัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ได้ออกประกาศมาตรการระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เนื้อไก่สดแช่เย็นหรือแช่แข็ง และไข่ไก่จากไทย เป็นเกณฑ์พิจารณาการนำเข้าสินค้า แต่จากการเดินทางเยือนประเทศกาตาร์ของนายกรัฐมนตรีไทยมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในปฏิญญาณร่วมในการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกาตาร์ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์การเกษตร โดยเฉพาะอาหารฮาลาล จึงส่งผลให้ฝ่ายการ์ตาตกลงที่จะยกเลิกการนำเข้าสัตว์ปีกจากประเทศไทย
นอกจากนี้ จากข้อมูลการส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าสัตว์ปีกปรุงสุกของไทยไปยังกาตาร์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2554 ปริมาณการส่งออกจำนวน 117,000 กิโลกรัม มูลค่า 25.8ล้านบาท ขณะที่ปี 2555 มีปริมาณการส่งออกทั้งสิ้น 150,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 35.4 ล้านบาท และหากจะพิจารณาถึงยอดการส่งออกตั้งแต่ปี 2552 ถึง เดือนมีนาคมปี 2556 มีปริมาณการส่งออกแล้ว 393,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 94.9 ล้านบาท ดังนั้น การยกเลิกมาตรการห้ามการนำเข้าสัตว์ปีกจากไทย จะทำให้ไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่สด รวมทั้งผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกปรุงสุกไปยังประเทศกาตาร์ได้ และยังเป็นการขยายตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมากขึ้นด้วย
ล่าสุด ประเทศกาตาร์ได้ประกาศยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากไทยแล้ว ซึ่งเป็นผลจากที่ประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการป้องกันด้านอาหารกาตาร์ ที่ได้มีมติอนุมัติยกเลิกการห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากไทย เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก และไม่พบการระบาดมาเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี ตามรายงานขององค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ โอไออี
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ส่งเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับมติอนุมัติการยกเลิกมาตรการห้ามดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการมายังกระทรวงเกษตรฯ แล้ว ซึ่งสามารถใช้เป็นการอ้างอิงสำหรับภาคเอกชนในการส่งออกเนื้อไก่ไทยไปยังประเทศกาตาร์ได้ทันที
นายยุคล กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศการ์ตาซึ่งเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่มรัฐอ่าวอาหรับ หรือ GCC ได้ยึดเอาบรรทัดฐานของรัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ได้ออกประกาศมาตรการระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เนื้อไก่สดแช่เย็นหรือแช่แข็ง และไข่ไก่จากไทย เป็นเกณฑ์พิจารณาการนำเข้าสินค้า แต่จากการเดินทางเยือนประเทศกาตาร์ของนายกรัฐมนตรีไทยมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในปฏิญญาณร่วมในการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกาตาร์ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์การเกษตร โดยเฉพาะอาหารฮาลาล จึงส่งผลให้ฝ่ายการ์ตาตกลงที่จะยกเลิกการนำเข้าสัตว์ปีกจากประเทศไทย
นอกจากนี้ จากข้อมูลการส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าสัตว์ปีกปรุงสุกของไทยไปยังกาตาร์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2554 ปริมาณการส่งออกจำนวน 117,000 กิโลกรัม มูลค่า 25.8ล้านบาท ขณะที่ปี 2555 มีปริมาณการส่งออกทั้งสิ้น 150,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 35.4 ล้านบาท และหากจะพิจารณาถึงยอดการส่งออกตั้งแต่ปี 2552 ถึง เดือนมีนาคมปี 2556 มีปริมาณการส่งออกแล้ว 393,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 94.9 ล้านบาท ดังนั้น การยกเลิกมาตรการห้ามการนำเข้าสัตว์ปีกจากไทย จะทำให้ไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่สด รวมทั้งผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกปรุงสุกไปยังประเทศกาตาร์ได้ และยังเป็นการขยายตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมากขึ้นด้วย