การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมปี 2556 คาดว่า จะพุ่งสูงสุดทำลายสถิติในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 27,076 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตไฟฟ้าจริงจะอยู่ที่ 29,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะไม่ส่งผลให้เกิดวิกฤตไฟฟ้า เนื่องจากปริมาณสำรองไฟฟ้ายังเหลือมากถึง 2,000 เมกะวัตต์ สูงกว่าสำรองขั้นต่ำที่ระบุไว้ควรจะมี 1,200 เมกะวัตต์
สำหรับสภาพอากาศของไทยปีนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อุณหภูมิปรับสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียสต่อเดือน ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น 350 เมกะวัตต์ โดยล่าสุดเดือนมีนาคม ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงกว่าปีที่แล้วถึง 32% โดยตั้งแต่วันที่ 1-21 มีนาคม มีการใช้ไฟฟ้าไปแล้ว 25,356 เมกะวัตต์ และตั้งแต่วันนี้ (25 มี.ค.) กฟผ.จะทำสถิติการใช้ไฟฟ้าประจำวันแบบวันต่อวันให้ประชาชนได้รับทราบ พร้อมจัดทำกราฟข้อมูลการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 10 วัน และจะมีการวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้า รวมถึงอุณหภูมิประจำวันลงในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ชื่อว่า "กฟผ.ฝ่ายสื่อสารองค์กร" เฉพาะช่วงเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ประชาชนรับทราบและประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น
สำหรับสภาพอากาศของไทยปีนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อุณหภูมิปรับสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียสต่อเดือน ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น 350 เมกะวัตต์ โดยล่าสุดเดือนมีนาคม ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงกว่าปีที่แล้วถึง 32% โดยตั้งแต่วันที่ 1-21 มีนาคม มีการใช้ไฟฟ้าไปแล้ว 25,356 เมกะวัตต์ และตั้งแต่วันนี้ (25 มี.ค.) กฟผ.จะทำสถิติการใช้ไฟฟ้าประจำวันแบบวันต่อวันให้ประชาชนได้รับทราบ พร้อมจัดทำกราฟข้อมูลการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 10 วัน และจะมีการวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้า รวมถึงอุณหภูมิประจำวันลงในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ชื่อว่า "กฟผ.ฝ่ายสื่อสารองค์กร" เฉพาะช่วงเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ประชาชนรับทราบและประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น