กสทช.ได้จัดงานสัมมนา "2556 ปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค" นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า การร้องเรียนจากประชาชนเฉลี่ยประมาณ 4-5 พันรายต่อปี จากความเดือดร้อนในการใช้โทรศัพย์มือถือ ตามกฎหมายกำหนดให้เมื่อรับเรื่องร้องเรียนต้องแก้ไขให้สร็จภายใน 30 วัน แต่การทำงาน ของ กสทช.ล่าช้ามาก เพราะมีเรื่องร้องเรียนค้างจำนวนมากนับพันเรื่อง และมีเรื่องค้าง 750 เรื่องที่ใช้เวลา 2 เดือน และบางเรื่องเกิน 6-7 เดือน จึงนับว่าผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังสร้างเงื่อนไขให้ยุ่งอยากซ้ำซ้อน ทั้งที่เป็นองค์กรให้อิสระ และที่ผ่านมา กสทช.ใช้งบ และบุคลากรด้านแก้ปัญหาร้องเรียนน้อยมาก จึงควรแก้ไขกฎหมายคลื่นความถี่ เพราะว่าที่ผ่านมาจะเห็น กสทช.คุ้มครองผู้ประกอบการมากกว่าการคุ้มครองผู้บริโภค
โดยตัวอย่างของปัญหามีหลายเรื่อง เช่น ตู้เติมเงินมือถือหลายราย ชาวบ้านเติมเงิน 12 บาท แต่ระบบเติมให้เพียง 10 บาท ประเมินความเสียหายของรายย่อยเหล่านี้นับ 10,000 ล้านบาทต่อปี และยังมีการบริการโรมมิ่งเครือข่าย เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ ที่เอกชนไม่แจ้งเตือนแต่กลับมาเรียกเก็บนับแสนบาท มีการส่งเอสเอ็มเอสเพื่อขายบริการ ส่วนการจัดค่าบริการเกิน 99 สตางค์ต่อนาที กสทช.ยังไม่ดำเนินการใดๆ
ด้านนายชัยรัตน์ แสงอรุณ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ กสทช. กล่าวว่า ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลความเสียหายของตนเองมากขึ้น เช่น ปัญหาการกำหนดเงื่อนไขของทรูวิชั่นโดยสร้างเงื่อนไขหลายโปรโมชั่น จนทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย ทั้งการห้ามยกเลิกเป็นสมาชิกก่อนกำหนด 1 ปี การตัดรายการที่ต้องการชม รวมถึงวิทยุชุมชนจำนวนมาก โฆษณายาปลุกเซ็กซ์ ยารักษาสารพัดโรค
นอกจากนี้ ยังสร้างเงื่อนไขให้ยุ่งอยากซ้ำซ้อน ทั้งที่เป็นองค์กรให้อิสระ และที่ผ่านมา กสทช.ใช้งบ และบุคลากรด้านแก้ปัญหาร้องเรียนน้อยมาก จึงควรแก้ไขกฎหมายคลื่นความถี่ เพราะว่าที่ผ่านมาจะเห็น กสทช.คุ้มครองผู้ประกอบการมากกว่าการคุ้มครองผู้บริโภค
โดยตัวอย่างของปัญหามีหลายเรื่อง เช่น ตู้เติมเงินมือถือหลายราย ชาวบ้านเติมเงิน 12 บาท แต่ระบบเติมให้เพียง 10 บาท ประเมินความเสียหายของรายย่อยเหล่านี้นับ 10,000 ล้านบาทต่อปี และยังมีการบริการโรมมิ่งเครือข่าย เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ ที่เอกชนไม่แจ้งเตือนแต่กลับมาเรียกเก็บนับแสนบาท มีการส่งเอสเอ็มเอสเพื่อขายบริการ ส่วนการจัดค่าบริการเกิน 99 สตางค์ต่อนาที กสทช.ยังไม่ดำเนินการใดๆ
ด้านนายชัยรัตน์ แสงอรุณ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ กสทช. กล่าวว่า ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลความเสียหายของตนเองมากขึ้น เช่น ปัญหาการกำหนดเงื่อนไขของทรูวิชั่นโดยสร้างเงื่อนไขหลายโปรโมชั่น จนทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย ทั้งการห้ามยกเลิกเป็นสมาชิกก่อนกำหนด 1 ปี การตัดรายการที่ต้องการชม รวมถึงวิทยุชุมชนจำนวนมาก โฆษณายาปลุกเซ็กซ์ ยารักษาสารพัดโรค