นายสุรชัย อจลบุญ ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า กรมควบคุมมลพิษ กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษจัดเก็บสถิติ ข้อมูล และรายงานผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียของตนเองในแต่ละวัน โดยเก็บไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษเป็นเวลา 2 ปีนับแต่วันจัดเก็บ
จากนั้นให้รายงานสรุปผลต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ล่าสุด มีแหล่งกำเนิดมลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎหมาย 10 ประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม อาคารบางประเภทและบางขนาด ที่ดินจัดสรร การเลี้ยงสุกร ท่าเทียบเรือประมง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
นายสุรชัย กล่าวด้วยว่า หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 เดือน ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 10,000 บาท ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้เริ่มออกตรวจแหล่งกำเนิดมลพิษ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปและให้แล้วเสร็จภายในปี 2556
จากนั้นให้รายงานสรุปผลต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ล่าสุด มีแหล่งกำเนิดมลพิษที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามกฎหมาย 10 ประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม อาคารบางประเภทและบางขนาด ที่ดินจัดสรร การเลี้ยงสุกร ท่าเทียบเรือประมง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
นายสุรชัย กล่าวด้วยว่า หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 เดือน ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 10,000 บาท ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้เริ่มออกตรวจแหล่งกำเนิดมลพิษ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปและให้แล้วเสร็จภายในปี 2556