ส.ส.พรรคเพื่อไทยรวม 21 คน นำโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ เตรียมยื่นเรื่องพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 - 10 พฤษภาคม 2554 ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในบ่ายวันนี้ เพื่อบรรจุเป็นวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า จนถึงขณะนี้พรรคยังคงมีมติเดิม คือการไม่ร่วมพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม และแม้จะมีข้อเสนอจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยให้การหารือเปิดกว้างขึ้น จาก 4 ฝ่าย เป็น 8 ฝ่าย พรรคยังคงมีท่าทีเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์มีมติว่า จะไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมการหารือ ด้วยเหตุผล 3 ข้อ คือการไม่ร่วมพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม หากข้อจำกัดเกินกว่าขอบเขตการยกเว้นโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน การไม่ถอนร่างกฎหมายปรองดองที่ว่าด้วยการยกเว้นการทำผิด รวม 4 ฉบับ ออกจากวาระที่ค้างอยู่ในสภา การเชิญบุคคลและกลุ่มนักการเมืองเฉพาะ แต่ล่าสุดกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เสนอ 8 ฝ่ายที่จะเข้าร่วมหารือ โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตอบรับที่จะเชิญเพิ่มเติม ซึ่งจะประกอบไปด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ ตัวแนวกลุ่ม นปช. ต่อแทนกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ตัวแทนครอบครัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้สูญเสีย ตัวแทนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม โดยเฉพาะผู้ประกอบการแยกราชประสงค์ และสยามสแควร์
สำหรับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จะเสนอในวันนี้ รายละเอียดคือการยกเว้นโทษให้ผู้กระทำการ ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง แต่การกระทำหรือแสดงออกทางการเมืองด้วยมูลเหตุที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองด้วยวาจา หรือโฆษณา เพื่อเรียกร้องให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืน การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลอื่น แต่ไม่รวมถึงการกระทำของบรรดาผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า จนถึงขณะนี้พรรคยังคงมีมติเดิม คือการไม่ร่วมพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม และแม้จะมีข้อเสนอจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยให้การหารือเปิดกว้างขึ้น จาก 4 ฝ่าย เป็น 8 ฝ่าย พรรคยังคงมีท่าทีเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ก่อนหน้านี้ พรรคประชาธิปัตย์มีมติว่า จะไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมการหารือ ด้วยเหตุผล 3 ข้อ คือการไม่ร่วมพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม หากข้อจำกัดเกินกว่าขอบเขตการยกเว้นโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน การไม่ถอนร่างกฎหมายปรองดองที่ว่าด้วยการยกเว้นการทำผิด รวม 4 ฉบับ ออกจากวาระที่ค้างอยู่ในสภา การเชิญบุคคลและกลุ่มนักการเมืองเฉพาะ แต่ล่าสุดกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เสนอ 8 ฝ่ายที่จะเข้าร่วมหารือ โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตอบรับที่จะเชิญเพิ่มเติม ซึ่งจะประกอบไปด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ ตัวแนวกลุ่ม นปช. ต่อแทนกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ตัวแทนครอบครัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้สูญเสีย ตัวแทนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม โดยเฉพาะผู้ประกอบการแยกราชประสงค์ และสยามสแควร์
สำหรับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จะเสนอในวันนี้ รายละเอียดคือการยกเว้นโทษให้ผู้กระทำการ ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง แต่การกระทำหรือแสดงออกทางการเมืองด้วยมูลเหตุที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองด้วยวาจา หรือโฆษณา เพื่อเรียกร้องให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืน การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลอื่น แต่ไม่รวมถึงการกระทำของบรรดาผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง