นางธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ผู้หญิงทำงาน ชีวิตมั่นคง ครอบครัวยั่งยืน" สะท้อนปัญหาแรงงานหญิงกับการเข้าถึงสิทธิประกันสังคม และการสวัสดิการสังคม โดยตัวแทนจากองค์กรแรงงานหญิง ระบุว่า ผู้ใช้แรงงานหญิงยังเข้าถึงสิทธิประกันสังคมที่ไม่ครอบคลุม ประสบปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง การไม่ได้รับสิทธิดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ ที่พบนายจ้างบางแห่งเลิกจ้างลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์
นอกจากนี้ เงื่อนไขของประกันสังคมหลายประเด็นยังไม่รองรับกับแรงงานหญิงตั้งครรภ์ ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิ เช่น เงินสำรองการคลอดบุตร 13,000 บาท ที่แรงงานต้องสำรองจ่ายไปก่อน ส่งผลกระทบต่อแรงงานที่ยากจน ไม่สามารถรับสิทธิได้
ขณะที่เงื่อนไขของการประกันสังคมที่ต้องส่งเงินเข้าประกันสังคมเกินกว่า 7 เดือน จึงจะสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ และส่ง 12 เดือน จึงจะได้รับค่าสงเคราะห์บุตร 400 บาทต่อเดือน ซึ่งในความเป็นจริงแรงงานบางคนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ ส่งเงินยังไม่ครบตามเงื่อนไข ทำให้ไม่ได้รับสิทธิ จึงต้องการให้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อการเข้าถึงสิทธิแรงงานหญิงตั้งครรภ์อย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำ
สำหรับข้อเสนอที่ได้จากเวทีเสวนาครั้งนี้ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี จะนำเสนอให้คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขับเคลื่อนต่อไป ในช่วงบ่ายวันนี้
นอกจากนี้ ในโอกาสวันสตรีสากล ปี 2556 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคม กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ได้เสนอข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลในการจัดสวัสดิการและประกันสังคมให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานหญิง 3 ข้อ ได้แก่ เพิ่มจำนวนศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กในบริเวณย่านอุตสาหกรรม ให้ตรงกับความต้องการของแรงงานหญิง ให้รัฐบาลลงสัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 183 เรื่องการคุ้มครองความเป็นมารดา และขยายการประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์ และให้มีตัวแทนผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในกลไกผลักดันการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม
นอกจากนี้ เงื่อนไขของประกันสังคมหลายประเด็นยังไม่รองรับกับแรงงานหญิงตั้งครรภ์ ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิ เช่น เงินสำรองการคลอดบุตร 13,000 บาท ที่แรงงานต้องสำรองจ่ายไปก่อน ส่งผลกระทบต่อแรงงานที่ยากจน ไม่สามารถรับสิทธิได้
ขณะที่เงื่อนไขของการประกันสังคมที่ต้องส่งเงินเข้าประกันสังคมเกินกว่า 7 เดือน จึงจะสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ และส่ง 12 เดือน จึงจะได้รับค่าสงเคราะห์บุตร 400 บาทต่อเดือน ซึ่งในความเป็นจริงแรงงานบางคนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ ส่งเงินยังไม่ครบตามเงื่อนไข ทำให้ไม่ได้รับสิทธิ จึงต้องการให้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อการเข้าถึงสิทธิแรงงานหญิงตั้งครรภ์อย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำ
สำหรับข้อเสนอที่ได้จากเวทีเสวนาครั้งนี้ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี จะนำเสนอให้คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขับเคลื่อนต่อไป ในช่วงบ่ายวันนี้
นอกจากนี้ ในโอกาสวันสตรีสากล ปี 2556 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคม กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ได้เสนอข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลในการจัดสวัสดิการและประกันสังคมให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานหญิง 3 ข้อ ได้แก่ เพิ่มจำนวนศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กในบริเวณย่านอุตสาหกรรม ให้ตรงกับความต้องการของแรงงานหญิง ให้รัฐบาลลงสัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 183 เรื่องการคุ้มครองความเป็นมารดา และขยายการประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์ และให้มีตัวแทนผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในกลไกผลักดันการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม