การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศสมาชิกอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้มีการเปิดเสรีทางด้านการค้า การลงทุน ธุรกิจบริการ รวมถึงแรงงานมีฝีมือ ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาแข่งขันและเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในขณะเดียว กันผู้ประกอบการไทยก็สามารถเข้าไปลงทุนและสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนได้เช่นกัน รวมถึงสร้างโอกาสการค้ากับกลุ่มคู่ค้าสำคัญๆ อย่างเช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย สหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาได้อีกด้วย
สภาพการแข่งขันที่สูงขึ้นนี้ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าไทย ต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน คุณภาพ และลดต้นทุนสินค้า ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะยกระดับความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ให้กับผู้ประกอบธุรกิจการค้าไทย นั่นคือการพัฒนาประสิทธิภาพและการลดต้นทุนด้านการจัดการลอจิสติกส์ ที่จะเป็นภาคธุรกิจแรกๆ ที่เปิดเสรีเมื่อ AEC เสร็จสมบูรณ์
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้แบ่งโครงสร้างของบริการลอจิสติกส์ไทย ไว้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ การขนส่งสินค้า การจัดเก็บสินค้า บริการด้านพิธีการต่างๆ บริการงานลอจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเสริม และบริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจลอจิสติกส์ในประเทศไทย มี 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งทางบก ขนส่ง ทางน้ำ ขนส่งทางอากาศ ตัวแทนออกของและตัวแทนขนส่ง และคลังสินค้า รวมกว่า 10,000 บริษัท และกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลางหรือ SMEs
ส่วนผู้ให้บริการลอจิสติกส์แบบครบวงจร มักเป็นบริษัทข้ามชาติ หรือผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ๆ เท่านั้น และแม้ผู้ประกอบธุรกิจบริการลอจิสติกส์ของไทยจะมีจุดแข็งที่ความยืดหยุ่นในการให้บริการ แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนลอจิสติกส์ของไทยซึ่งมีตัวเลขเฉลี่ยประมาณ 17.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิงคโปร์และมาเลเซีย ดังนั้น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนผู้ส่งออก และผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จึงต้องเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและอุตสาหกรรมบริการด้านลอจิสติกส์ของไทย เพื่อมุ่งลดต้นทุนลอจิสติกส์
สภาพการแข่งขันที่สูงขึ้นนี้ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าไทย ต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน คุณภาพ และลดต้นทุนสินค้า ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่จะยกระดับความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ให้กับผู้ประกอบธุรกิจการค้าไทย นั่นคือการพัฒนาประสิทธิภาพและการลดต้นทุนด้านการจัดการลอจิสติกส์ ที่จะเป็นภาคธุรกิจแรกๆ ที่เปิดเสรีเมื่อ AEC เสร็จสมบูรณ์
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้แบ่งโครงสร้างของบริการลอจิสติกส์ไทย ไว้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ การขนส่งสินค้า การจัดเก็บสินค้า บริการด้านพิธีการต่างๆ บริการงานลอจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเสริม และบริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการธุรกิจลอจิสติกส์ในประเทศไทย มี 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งทางบก ขนส่ง ทางน้ำ ขนส่งทางอากาศ ตัวแทนออกของและตัวแทนขนส่ง และคลังสินค้า รวมกว่า 10,000 บริษัท และกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลางหรือ SMEs
ส่วนผู้ให้บริการลอจิสติกส์แบบครบวงจร มักเป็นบริษัทข้ามชาติ หรือผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ๆ เท่านั้น และแม้ผู้ประกอบธุรกิจบริการลอจิสติกส์ของไทยจะมีจุดแข็งที่ความยืดหยุ่นในการให้บริการ แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนลอจิสติกส์ของไทยซึ่งมีตัวเลขเฉลี่ยประมาณ 17.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิงคโปร์และมาเลเซีย ดังนั้น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนผู้ส่งออก และผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จึงต้องเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและอุตสาหกรรมบริการด้านลอจิสติกส์ของไทย เพื่อมุ่งลดต้นทุนลอจิสติกส์