องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยรายงานความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเหตุการณ์สึนามิ และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น เมื่อ 2 ปีก่อน จากการเก็บข้อมูลประชากรในพื้นที่เป็นเวลา 2 ปี พบผลการวิจัย ระบุว่า พื้นที่ในจังหวัดฟูกุชิมะ ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิชิ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และมีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลนั้น มีแนวโน้มประชากรบางส่วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
โดยเด็กทารกเพศชาย เสี่ยงต่อการเป็นลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ร้อยละ 7 ส่วนทารกเพศหญิง เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 4 ขณะที่เด็กอายุ 1 ปี เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ มากถึงร้อยละ 70 แต่การได้รับกัมมันตรังสี ไม่ทำให้แท้งระหว่างการตั้งครรภ์
ส่วนเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิชิ มีความเสี่ยงที่จะเป็นลูคีเมีย มะเร็งต่อมไทรอยด์ และมะเร็งชนิดอื่นๆ
โดยเด็กทารกเพศชาย เสี่ยงต่อการเป็นลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ร้อยละ 7 ส่วนทารกเพศหญิง เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 4 ขณะที่เด็กอายุ 1 ปี เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ มากถึงร้อยละ 70 แต่การได้รับกัมมันตรังสี ไม่ทำให้แท้งระหว่างการตั้งครรภ์
ส่วนเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิชิ มีความเสี่ยงที่จะเป็นลูคีเมีย มะเร็งต่อมไทรอยด์ และมะเร็งชนิดอื่นๆ