นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลได้เข้ายื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้งมายังนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจสำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง โดยนายกรัฐมนตรีสั่งกำชับให้ดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต สำหรับผู้ที่ถูกคุมขังโดยให้ดูถึงกฎระเบียบที่พอจะช่วยเหลือจะได้อย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้บัญชาให้ช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้ถูกคุมขัง ทั้งความเป็นอยู่ของญาติพี่น้อง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเยี่ยม ตนในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองโดยตำแหน่งจะทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้
นายจารุพงศ์ กล่าวด้วยว่า เรื่องกฎหมายมีแนวทาง 3 แนวทาง คือ แนวทางของนายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน คอ.นท. แนวทางของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล และแนวทางที่ทำโดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้ทำไว้ โดยจะต้องศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของทั้งสามแนวทาง ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจเพราะการเยียวยาบาดแผลให้มีความสมานกันได้ หรือให้มีความเมตตาปรารถนาดีต่อกันได้เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการทำ เรื่องการเยียวยาด้วยการอภัยโทษต้องนำกรณีที่เคยมีมาในอดีตมาศึกษาดูทั้งหมด อาทิ กรณีเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ซึ่งเคยมีการให้อภัยโทษนักศึกษาและผู้ชุมนุมเป็นต้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้บัญชาให้ช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้ถูกคุมขัง ทั้งความเป็นอยู่ของญาติพี่น้อง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเยี่ยม ตนในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองโดยตำแหน่งจะทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้
นายจารุพงศ์ กล่าวด้วยว่า เรื่องกฎหมายมีแนวทาง 3 แนวทาง คือ แนวทางของนายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน คอ.นท. แนวทางของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล และแนวทางที่ทำโดยคณะกรรมการอิสระตรวจสอบความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้ทำไว้ โดยจะต้องศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของทั้งสามแนวทาง ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจเพราะการเยียวยาบาดแผลให้มีความสมานกันได้ หรือให้มีความเมตตาปรารถนาดีต่อกันได้เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการทำ เรื่องการเยียวยาด้วยการอภัยโทษต้องนำกรณีที่เคยมีมาในอดีตมาศึกษาดูทั้งหมด อาทิ กรณีเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ซึ่งเคยมีการให้อภัยโทษนักศึกษาและผู้ชุมนุมเป็นต้น