นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้ (25 ม.ค.) ส.อ.ท.เตรียมสรุปมาตรการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ก่อนนำข้อสรุปดังกล่าวไปหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในต้นสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ เบื้องต้นเห็นว่า ธปท.ควรดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนเกินไป และควรให้เงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับค่าเงินในภูมิภาค โดยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ อาจเป็นมาตรการเดิมที่เคยนำมาใช้แล้ว เช่น การกันสำรองเงินทุนไหลเข้าร้อยละ 5 เพื่อชะลอการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ และมาตรการประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ด้านนายเกรียงไกร เธียรกุล รองประธาน ส.อ.ท. แสดงความต้องการให้ ธปท.และกระทรวงการคลัง ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากไปกว่า 30 บาท/ดอลลาร์ เพราะจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังปรับตัวรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรง 300 บาท/วัน ซึ่งหากเผชิญกับการแข็งค่าของเงินบาท จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ประกอบการรายได้ลดลงในขณะที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งในที่สุดจะไม่สามารถอยู่รอดได้ และล้มเลิกกิจการไปในที่สุด
รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวด้วยว่า ขณะนี้โลกกำลังเข้าสู่ภาวะสงครามทางการเงิน (Money War) ดังนั้นแบงก์ชาติหรือผู้ประกอบการควรต้องใช้ความระมัดระวังในการซื้อเงินดอลลาร์หรือเงินเยน
ทั้งนี้ เบื้องต้นเห็นว่า ธปท.ควรดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนเกินไป และควรให้เงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับค่าเงินในภูมิภาค โดยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ อาจเป็นมาตรการเดิมที่เคยนำมาใช้แล้ว เช่น การกันสำรองเงินทุนไหลเข้าร้อยละ 5 เพื่อชะลอการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ และมาตรการประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ด้านนายเกรียงไกร เธียรกุล รองประธาน ส.อ.ท. แสดงความต้องการให้ ธปท.และกระทรวงการคลัง ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากไปกว่า 30 บาท/ดอลลาร์ เพราะจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังปรับตัวรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรง 300 บาท/วัน ซึ่งหากเผชิญกับการแข็งค่าของเงินบาท จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ประกอบการรายได้ลดลงในขณะที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งในที่สุดจะไม่สามารถอยู่รอดได้ และล้มเลิกกิจการไปในที่สุด
รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวด้วยว่า ขณะนี้โลกกำลังเข้าสู่ภาวะสงครามทางการเงิน (Money War) ดังนั้นแบงก์ชาติหรือผู้ประกอบการควรต้องใช้ความระมัดระวังในการซื้อเงินดอลลาร์หรือเงินเยน