นายกิม เอ็ง ตัน ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์การจัดอันดับภาครัฐ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี ประจำเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า เอสแอนด์พียังคงอันดับความน่าเชื่อถือประเทศไทย โดยให้แนวโน้มมีเสถียรภาพ หรือ stable แม้จะพบข้อมูลว่าเศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่ดี แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังถือเป็นปัจจัยเสี่ยง ขณะที่ปัจจัยด้านการคลัง ยังมีประเด็นต้องติดตามในระยะยาว โดยเฉพาะภาระหนี้ในหน่วยงานพิเศษของภาครัฐ ซึ่งแม้ในระยะสั้นจะยังไม่เห็นสัญญาณหนี้เพิ่มขึ้น แต่หากกระทบต่อหนี้สาธารณะสูงขึ้น จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประเทศได้
ด้านนายสันติ กีระนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส เรทติ้ง กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเครดิตอยู่ในระดับ BBB+ มาเป็นเวลานาน เป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ ที่อยู่ในระดับ AAA และมาเลเซีย ที่ A- เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านการเมืองและภัยธรรมชาติ แม้ปัจจัยเสี่ยงทั้งสองด้านได้รับการแก้ไขแล้ว แต่อันดับความน่าเชื่อถือไทย ยังไม่ปรับขึ้น เพราะรายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาการจัดอันดับเครดิต
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน นั้น จะช่วยกระตุ้นการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ และการส่งออก ซึ่งจะช่วยเพิ่มจีดีพีให้โตขึ้น และอาจช่วยสนับสนุนให้เครดิตประเทศไทยดีขึ้นได้ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า
ด้านนายสันติ กีระนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส เรทติ้ง กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเครดิตอยู่ในระดับ BBB+ มาเป็นเวลานาน เป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ ที่อยู่ในระดับ AAA และมาเลเซีย ที่ A- เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านการเมืองและภัยธรรมชาติ แม้ปัจจัยเสี่ยงทั้งสองด้านได้รับการแก้ไขแล้ว แต่อันดับความน่าเชื่อถือไทย ยังไม่ปรับขึ้น เพราะรายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาการจัดอันดับเครดิต
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน นั้น จะช่วยกระตุ้นการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ และการส่งออก ซึ่งจะช่วยเพิ่มจีดีพีให้โตขึ้น และอาจช่วยสนับสนุนให้เครดิตประเทศไทยดีขึ้นได้ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า