หลังศาลสูงสุดมีคำสั่งให้จับกุมนายราชา เปอร์เวซ อาชราฟ นายกรัฐมนตรีปากีสถาน และพวกอีก 16 คน ในข้อหาทุจริตโครงการสร้างโรงไฟฟ้า เมื่อปี 2553 กลุ่มผู้ประท้วงที่ปักหลักชุมนุมขับไล่รัฐบาลมานาน 3 วัน ต่างพากันแสดงความยินดี พร้อมระบุว่านี่เป็นชัยชนะของพวกเขา
หลายฝ่ายเชื่อว่าจังหวะเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้จับกุมนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่น่าจะเป็นการสมคบคิดกันระหว่างศาลสูงกับกองทัพในการโค่นรัฐบาลของประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี
สำหรับแกนนำการประท้วงครั้งนี้ คือนายตอฮี อัลคาดรี ผู้นำทางศาสนา ที่ได้รับความนิยมจากประชาชน โดยกล่าวโทษรัฐบาลชุดปัจจุบันว่าบริหารประเทศล้มเหลว ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอ และปล่อยให้กองกำลังติดอาวุธก่อเหตุรุนแรง
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยในตัวนายอัลคาดรี ซึ่งเป็นแกนนำในการประท้วง ว่าเขามีวัตถุประสงค์อะไรกันแน่ เพราะนายอัลคาดรี ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศแคนาดามาโดยตลอด จนได้สัญชาติแคนาดา และเพิ่งจะเดินทางกลับมาปากีสถานเมื่อเดือนที่แล้ว จากนั้นก็เริ่มระดมพลจัดการประท้วงขับไล่รัฐบาลทันที หลายคนเชื่อว่าการกระทำของนายอัลคาดรี น่าจะมีกองทัพหนุนอยู่เบื้องหลัง โดยนายอัลคาดรี อาจจะมีหน้าที่ปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อเปิดโอกาสให้กองทัพมีข้ออ้างในการปฏิวัติ
หลายฝ่ายเชื่อว่าจังหวะเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้จับกุมนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่น่าจะเป็นการสมคบคิดกันระหว่างศาลสูงกับกองทัพในการโค่นรัฐบาลของประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี
สำหรับแกนนำการประท้วงครั้งนี้ คือนายตอฮี อัลคาดรี ผู้นำทางศาสนา ที่ได้รับความนิยมจากประชาชน โดยกล่าวโทษรัฐบาลชุดปัจจุบันว่าบริหารประเทศล้มเหลว ทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอ และปล่อยให้กองกำลังติดอาวุธก่อเหตุรุนแรง
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยในตัวนายอัลคาดรี ซึ่งเป็นแกนนำในการประท้วง ว่าเขามีวัตถุประสงค์อะไรกันแน่ เพราะนายอัลคาดรี ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศแคนาดามาโดยตลอด จนได้สัญชาติแคนาดา และเพิ่งจะเดินทางกลับมาปากีสถานเมื่อเดือนที่แล้ว จากนั้นก็เริ่มระดมพลจัดการประท้วงขับไล่รัฐบาลทันที หลายคนเชื่อว่าการกระทำของนายอัลคาดรี น่าจะมีกองทัพหนุนอยู่เบื้องหลัง โดยนายอัลคาดรี อาจจะมีหน้าที่ปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อเปิดโอกาสให้กองทัพมีข้ออ้างในการปฏิวัติ