ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในวงเสวนารัฐธรรมนูญปี 2550 ปัญหาของประเทศ ภาระของคนไทย ระหว่างการสัมมนาพรรคเพื่อไทย โดยชี้แจงถึงข้อเสียของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งนอกจากเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ยังไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะมาจากการปฏิวัติ ขัดต่อหลักสากล และมุ่งจับผิดนักการเมือง ซึ่งส่วนตัวมีแนวคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา 9 ประเด็น 81 มาตรา เพื่อให้เป็นประชาธิปไตย โดยยกเลิกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เสนอให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ยกเลิกผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่วน ป.ป.ช. กกต.ต้องมาจากการเลือกตั้งของรัฐสภา โดยอยู่ในวาระคราวละ 4 ปี ขณะที่หน่วยงานองค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องถูกตรวจสอบได้
นอกจากนี้ ขอเสนอให้แก้ไขมาตรา 190 ซึ่งเป็นการบั่นทอนการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งแก้ไขมาตรา 237 เพื่อไม่ให้มีการยุบพรรค
ทั้งนี้ เห็นว่าหากทำประชามติ ผู้มาใช้สิทธิต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ ซึ่งเป็นเรื่องยาก จึงเห็นควรแก้ไขรายมาตรา โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขในมาตรา 309 แต่ใช้พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และพระราชบัญญัติปรองดอง แทน
นอกจากนี้ ขอเสนอให้แก้ไขมาตรา 190 ซึ่งเป็นการบั่นทอนการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งแก้ไขมาตรา 237 เพื่อไม่ให้มีการยุบพรรค
ทั้งนี้ เห็นว่าหากทำประชามติ ผู้มาใช้สิทธิต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ ซึ่งเป็นเรื่องยาก จึงเห็นควรแก้ไขรายมาตรา โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขในมาตรา 309 แต่ใช้พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และพระราชบัญญัติปรองดอง แทน