นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่าจากการติดตามพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า บริเวณกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีน ยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียสในหลายพื้นที่ ซึ่งปัจจุบัน ได้มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) แล้ว 7 จังหวัด 41 อำเภอ 236 ตำบล 3,057 หมู่บ้าน 653,040 ครัวเรือน 1,710,941 คน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน เชียงราย เลย แพร่ และจังหวัดลำพูน
ดังนั้น เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะอากาศหนาวเย็น ได้สั่งให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ได้แก่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) เขต 10 (ลำปาง) 13 (อุบลราชธานี) เขต 14 (อุดรธานี) เขต 15 (เชียงราย) เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยหนาว อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฎิบัติงานติดตามตรวจสอบสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมการให้ความช่วยเหลือได้ทันต่อเหตุการณ์
ส่วนที่กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือนพายุโซนร้อน "โซนามุ" (SONAMU) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 18 กม./ชม. คาดว่า พายุนี้มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวน และจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางประเทศมาเลเซีย ในช่วงวันที่ 7-8 มกราคม 2556 ซึ่งผลกระทบจากพายุนี้ ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไปจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 7-9 มกราคม 2556
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ยังคงมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างให้ระวังคลื่นลมแรงพัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณดังกล่าวให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กให้งดออกจากฝั่งในระยะนี้
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม อันเกิดจากสภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในระยะ 6-7 วันนี้ (4-10 มกราคม 2556) โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
ดังนั้น เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาวะอากาศหนาวเย็น ได้สั่งให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ได้แก่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) เขต 10 (ลำปาง) 13 (อุบลราชธานี) เขต 14 (อุดรธานี) เขต 15 (เชียงราย) เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยหนาว อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่ปฎิบัติงานติดตามตรวจสอบสถานการณ์เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมการให้ความช่วยเหลือได้ทันต่อเหตุการณ์
ส่วนที่กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือนพายุโซนร้อน "โซนามุ" (SONAMU) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 18 กม./ชม. คาดว่า พายุนี้มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวน และจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางประเทศมาเลเซีย ในช่วงวันที่ 7-8 มกราคม 2556 ซึ่งผลกระทบจากพายุนี้ ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไปจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 7-9 มกราคม 2556
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ยังคงมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างให้ระวังคลื่นลมแรงพัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณดังกล่าวให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กให้งดออกจากฝั่งในระยะนี้
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม อันเกิดจากสภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในระยะ 6-7 วันนี้ (4-10 มกราคม 2556) โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์