นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 มกราคมนี้ มีการเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบ และช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี มีเพิ่มเติม 5 มาตรการ ประกอบด้วย 1.การลดค่าธรรมเนียมห้องพักโรงแรม ที่พัก โดยจะลดอัตราค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจรายปีลงร้อยละ 50 จากปัจจุบันที่จัดเก็บห้องละ 80 บาท ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี 2.การจัดคลินิคพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ไปยังสถานศึกษาและสถานประกอบการ 3.การเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน 4.การจัดคาราวานสินค้าราคาถูก ไปจำหน่ายให้ลูกจ้างในสถานประกอบการ โดยกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบนำไปจัดจำหน่ายในโครงการธงฟ้าไปจัดจำหน่าย และมาตรการสุดท้ายคือ การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2 ซึ่งทำให้รายได้ของรัฐลดลงไปประมาณ 20,000 ล้านบาท จากที่เคยจัดเก็บได้ 60,000 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ เชื่อว่ามาตรการเพิ่มเติมที่ออกมาจะทำให้เอสเอ็มอี แข่งขันกันได้มากขึ้น ซึ่งปัญหาการปิดตัวของโรงงานใน จ.สระบุรีนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นค่าแรง แต่ว่ามาจากปัญหาการเงินของโรงงานเอง ซึ่งมองว่าผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงทั่วประเทศครั้งนี้ จะประเมินได้ประมาณเดือนมีนาคม ดังนั้น ในขณะนี้จึงถือว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินถึงผลกระทบ
ทั้งนี้ เชื่อว่ามาตรการเพิ่มเติมที่ออกมาจะทำให้เอสเอ็มอี แข่งขันกันได้มากขึ้น ซึ่งปัญหาการปิดตัวของโรงงานใน จ.สระบุรีนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นค่าแรง แต่ว่ามาจากปัญหาการเงินของโรงงานเอง ซึ่งมองว่าผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงทั่วประเทศครั้งนี้ จะประเมินได้ประมาณเดือนมีนาคม ดังนั้น ในขณะนี้จึงถือว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินถึงผลกระทบ