นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางถึงขนาดเล็ก โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งจะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจากนี้ไปนายจ้าง หรือผู้ประกอบการ จะมีการหลบเลี่ยงที่จะไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด หรือถ้าจ่ายก็จะนำค่าอาหาร หรือสวัสดิการต่างๆ เข้ามาเพิ่มในค่าจ้าง เพื่อจะจ่ายให้แรงงานในอัตราเท่าเดิมที่เคยจ่ายให้ เพื่อความอยู่รอดของบริษัท โดยที่ลูกจ้างอาจจะต้องจำใจเพราะไม่มีทางเลือก
นอกจากนี้ นายพรายพลกล่าวด้วยว่า เมื่อค่าจ้างปรับขึ้นแล้ว สิ่งที่ต้องจับตาตามมา คือการปรับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ รวมถึงเรื่องเงินเฟ้อ
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะมีการประชุมนัดแรกของปี ในวันที่ 9 มกราคมนี้ เชื่อว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 เช่นเดิม
นอกจากนี้ นายพรายพลกล่าวด้วยว่า เมื่อค่าจ้างปรับขึ้นแล้ว สิ่งที่ต้องจับตาตามมา คือการปรับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ รวมถึงเรื่องเงินเฟ้อ
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะมีการประชุมนัดแรกของปี ในวันที่ 9 มกราคมนี้ เชื่อว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 เช่นเดิม