นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงเหตุการณ์ที่ตำรวจขว้างแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมองค์การพิทักษ์สยาม ว่า เหตุการณ์การขว้างแก๊สน้ำตาใส่ประชาชนนั้น รัฐบาลต้องรับผิดชอบ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งที่ยังไม่เหตุอันควร เพราะประชาชนยังไม่มีการใช้อาวุธ หรือมีการปฏิบัติในลักษณะที่ฝ่าฝืนกฎหมาย แค่เป็นการขอทางเพื่อที่จะเข้าร่วมการชุมนุมเท่านั้น อีกทั้งยังขอประณามแผนการของรัฐบาลที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การสกัดไม่ให้ประชาชนเข้ากรุงเทพฯ เพื่อร่วมชุมนุมกับกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้เกิดแรงกดดันไปยังประชาชนที่ต้องการจะแสดงออกในการต่อต้านรัฐบาล แต่รัฐบาลกลับสร้างสถานการณ์ความตึงเครียดขึ้นมาอีกโดยการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง
นายชวนนท์กล่าวว่า การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะขัดกับตัว พ.ร.บ.เองหรือไม่ เพราะมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ระบุว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันจะกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรัฐบาลประกาศก่อนที่จะมีการชุมนุม อีกทั้ง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย ยังยืนยันว่าจะชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธและจะไม่ยืดเยื้อ ดังนั้น จึงไม่เข้าข่ายการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้น รัฐบาลคำนึงเพียงแต่ผลกระทบต่อความมั่นคงของตัวเองเท่านั้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าขั้นตอนต่อไปของรัฐบาลคือ กล่าวหาและใส่ร้ายประชาชน เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมให้เจ้าหน้าที่ติดอาวุธได้ เพื่อดำเนินการกับประชาชน และตนยังเชื่ออีกว่าการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ของรัฐบาลยังไม่เพียงพอ อาจจะมีการรอเวลาเพื่อประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือการประกาศกฎอัยการศึกก็เป็นได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเงื่อนไขของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะไม่เข้าร่วมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
นายชวนนท์กล่าวว่า การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะขัดกับตัว พ.ร.บ.เองหรือไม่ เพราะมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ระบุว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันจะกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรัฐบาลประกาศก่อนที่จะมีการชุมนุม อีกทั้ง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย ยังยืนยันว่าจะชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธและจะไม่ยืดเยื้อ ดังนั้น จึงไม่เข้าข่ายการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้น รัฐบาลคำนึงเพียงแต่ผลกระทบต่อความมั่นคงของตัวเองเท่านั้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าขั้นตอนต่อไปของรัฐบาลคือ กล่าวหาและใส่ร้ายประชาชน เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมให้เจ้าหน้าที่ติดอาวุธได้ เพื่อดำเนินการกับประชาชน และตนยังเชื่ออีกว่าการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ของรัฐบาลยังไม่เพียงพอ อาจจะมีการรอเวลาเพื่อประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือการประกาศกฎอัยการศึกก็เป็นได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเงื่อนไขของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะไม่เข้าร่วมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ