ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนด้านสตรี และความเสมอภาคระหว่างเพศ ยื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา สบ 10 เพื่อเสนอปัญหาในรอบ 5 ปี ของกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ปี 2550 โดยพบปัญหาส่วนหนึ่งมาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจขาดการรับรู้กฎหมาย และไม่มีกลไกให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำ
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวเรียกร้องให้มีพนักงานสอบสวนหญิงทุกสถานีตำรวจ รับแจ้งความกรณีความรุนแรงจากครอบครัว และทำความเข้าใจกลไกการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวแก่ตำรวจทุกนาย
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ยอมรับว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว การแจ้งความการดำเนินการจึงยังไม่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ยินดีพิจารณาตามข้อเสนอของภาคประชาชน
ขณะที่ผลสำรวจการรับรู้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพบว่า ร้อยละ 80 ยังไม่รู้รายละเอียดของกฎหมาย ขณะที่ร้อยละ 42.1 เห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้ถูกกระทำไม่สามารถเข้าถึงกฎหมายได้คือ ความรู้สึกอาย
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวเรียกร้องให้มีพนักงานสอบสวนหญิงทุกสถานีตำรวจ รับแจ้งความกรณีความรุนแรงจากครอบครัว และทำความเข้าใจกลไกการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวแก่ตำรวจทุกนาย
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ยอมรับว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว การแจ้งความการดำเนินการจึงยังไม่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ยินดีพิจารณาตามข้อเสนอของภาคประชาชน
ขณะที่ผลสำรวจการรับรู้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพบว่า ร้อยละ 80 ยังไม่รู้รายละเอียดของกฎหมาย ขณะที่ร้อยละ 42.1 เห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้ถูกกระทำไม่สามารถเข้าถึงกฎหมายได้คือ ความรู้สึกอาย