นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ของไทย ซึ่งประกอบด้วย สินค้ากลุ่มของขวัญ ของชำร่วย ของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน เคหะสิ่งทอ ของเล่น เครื่องเขียน และเฟอร์นิเจอร์ เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท ครั้งแรก ใน 7 จังหวัด เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็น SMEs ต้องปิดตัวลงแล้วกว่า 100 ราย จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 3,000 ราย เพราะต้นทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 40 และหากรวมต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่ง ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 50 และหากมีการปรับค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ในปีหน้า จะยิ่งทำให้ SMEs มีความเสี่ยงสูงที่จะปิดกิจการมากขึ้น เพราะมาตรการช่วยเหลือของรัฐ โดยเฉพาะการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ยังเป็นเรื่องยาก
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ปฏิเสธค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท แต่รัฐบาลจะต้องทบทวนมาตรการช่วยเหลือ SMEs ที่ยังไม่เป็นรูปธรรม
สำหรับตลาดส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์ปีนี้ คาดว่าจะมียอดรวม 90,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3 จากปีที่ผ่านมา แต่เป็นการเติบโตท่ามกลางกำไรที่ลดน้อยลง ส่วนปีหน้าคาดว่าการส่งออกยังคงเติบโตร้อยละ 5-8 ขณะที่ตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ในประเทศ มียอดขายใกล้เคียงกับการส่งออก โดยการค้าชายแดนซึ่งเข้ามาซื้อสินค้าจากฝั่งไทย แล้วนำออกไปประเทศเพื่อนบ้านเติบโตอย่างมาก
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ปฏิเสธค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท แต่รัฐบาลจะต้องทบทวนมาตรการช่วยเหลือ SMEs ที่ยังไม่เป็นรูปธรรม
สำหรับตลาดส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์ปีนี้ คาดว่าจะมียอดรวม 90,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3 จากปีที่ผ่านมา แต่เป็นการเติบโตท่ามกลางกำไรที่ลดน้อยลง ส่วนปีหน้าคาดว่าการส่งออกยังคงเติบโตร้อยละ 5-8 ขณะที่ตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ในประเทศ มียอดขายใกล้เคียงกับการส่งออก โดยการค้าชายแดนซึ่งเข้ามาซื้อสินค้าจากฝั่งไทย แล้วนำออกไปประเทศเพื่อนบ้านเติบโตอย่างมาก