นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงปัญหาคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ว่า ตามรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดว่า ผู้ที่ขาดคุณสมบัติจะเกิดจากกรณีใดบ้าง และไม่ขอวิจารณ์ถึงความเหมาะสมกรณีฝ่ายค้านเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แนบท้ายญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อย่างไรก็ตาม เห็นว่ากรณีการร้องต่อศาลปกครองให้พิจารณาว่าคำสั่งกระทรวงกลาโหมไม่ชอบนั้น ไม่น่าจะทำได้ เพราะเรื่องของวินัยทหารไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ทางด้านนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าข้ออ้างเรื่องวินัยทหารไม่สามารถนำมาใช้กับนายอภิสิทธิ์ได้ เพราะนายอภิสิทธิ์ ได้ออกจากราชการมาแล้วกว่า 30 ปี ดังนั้น จึงมีสิทธิ์ที่จะร้องต่อศาลปกครอง และถึงขณะนี้ต้องถือว่าความเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ ยังคงอยู่ เพราะกระบวนการต่างๆ ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งกรณีการร้องต่อศาลปกครอง รวมถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ ร้องต่อ ป.ป.ช.เพื่อให้ถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกจากตำแหน่งด้วย
ขณะที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล ย้ำว่า แม้จะเกิดข้อถกเถียงกรณีคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ แต่ก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการทำหน้าที่ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน โดยขณะนี้กรอบเวลาในการอภิปรายยังเป็นไปตามที่ตกลงไว้ คือวันที่ 25-26 พฤศจิกายน ส่วนที่มีการชุมนุมนอกสภาในช่วงดังกล่าว นายอุดมเดช เห็นว่าเป็นขบวนการที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม เห็นว่ากรณีการร้องต่อศาลปกครองให้พิจารณาว่าคำสั่งกระทรวงกลาโหมไม่ชอบนั้น ไม่น่าจะทำได้ เพราะเรื่องของวินัยทหารไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ทางด้านนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าข้ออ้างเรื่องวินัยทหารไม่สามารถนำมาใช้กับนายอภิสิทธิ์ได้ เพราะนายอภิสิทธิ์ ได้ออกจากราชการมาแล้วกว่า 30 ปี ดังนั้น จึงมีสิทธิ์ที่จะร้องต่อศาลปกครอง และถึงขณะนี้ต้องถือว่าความเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ ยังคงอยู่ เพราะกระบวนการต่างๆ ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งกรณีการร้องต่อศาลปกครอง รวมถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ ร้องต่อ ป.ป.ช.เพื่อให้ถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกจากตำแหน่งด้วย
ขณะที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล ย้ำว่า แม้จะเกิดข้อถกเถียงกรณีคุณสมบัติของนายอภิสิทธิ์ แต่ก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการทำหน้าที่ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน โดยขณะนี้กรอบเวลาในการอภิปรายยังเป็นไปตามที่ตกลงไว้ คือวันที่ 25-26 พฤศจิกายน ส่วนที่มีการชุมนุมนอกสภาในช่วงดังกล่าว นายอุดมเดช เห็นว่าเป็นขบวนการที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล