นายอานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่า เตรียมยื่นขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ 3G ไว้ก่อน จนกว่า กสทช.จะออกเงื่อนไขการประมูลที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน โดยเห็นว่าการประมูลคลื่นความถี่ สำนักงาน กสทช.จะต้องกระทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน แต่จากข้อกำหนดในการประมูลขณะนี้ หรือในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ ที่จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ ทาง กสทช.ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ ที่จะให้บริษัทเอกชนที่จะเข้าร่วมประมูลดำเนินการเพิ่ม ก็จะต้องไปยื่นฟ้องใน 4 ประเด็น
ทั้งนี้ 4 ประเด็นดังกล่าว ได้แก่ 1. กสทช.ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับคุณภาพของสัญญาณในการให้บริการ เช่น ความเร็ว หรือความเสถียร ผู้ให้บริการจะกำหนดอย่างไร เพราะเมื่อไม่ได้เขียน ทางค่ายมือถือก็สามารถกำหนดการให้บริการอย่างไรก็ได้ และเมื่อมีการแข่งขันในตลาดเพียง 3 ราย ย่อมเอาเปรียบลูกค้า และลูกค้าก็จะไม่มีทางเลือก
ประเด็นที่ 2 กสทช.ไม่มีข้อกำหนดด้านราคา ว่าจะเก็บในอัตราสูงสุดเท่าไร จึงเป็นโอกาสให้กับผู้ให้บริการกำหนดค่าบริการได้เอง ประเด็นที่ 3 เป็นเรื่องของเงื่อนไขว่า ต้องให้บริการสำหรับผู้ด้อยโอกาส หรือคนในพื้นที่ชนบท ซึ่งประเด็นนี้ในต่างประเทศสามารถกำหนดได้เลยก่อนประมูล แต่ กสทช.ไม่ได้ทำ และประเด็นสุดท้าย กสทช.ไม่มีระเบียบใดๆ ที่กำหนดว่า รายได้เฉพาะที่ได้มาจากการประมูลจะนำไปทำอะไรให้เป็นประโยชน์กับประชาชน เพราะกฎหมายพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ปี 2553 กำหนดเพียงว่า รายได้จะต้องนำเข้ารัฐ แต่ กสทช.ควรจะประกาศเป็นแผนที่ชัดเจนกว่านี้
นายอานุภาพ ยืนยันว่า ส่วนตัวไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการประมูลคลื่น 3G แต่สิ่งที่รับไม่ได้คือการประมูลที่เกิดขึ้น ประโยชน์สูงสุดไม่ได้อยู่ที่ประชาชน
ด้านนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.คุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการฟ้องไม่น่าจะมีน้ำหนักพอที่จะทำให้ศาลรับไว้ ขณะเดียวกัน นายอานุภาพ ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากการประมูล เพราะเห็นได้จากการฟ้องระงับการประมูลเมื่อปี 2553 คนที่ฟ้องนั้นจะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่เสียประโยชน์ เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม หรือบริษัท ทีโอที เท่านั้น
ทั้งนี้ 4 ประเด็นดังกล่าว ได้แก่ 1. กสทช.ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับคุณภาพของสัญญาณในการให้บริการ เช่น ความเร็ว หรือความเสถียร ผู้ให้บริการจะกำหนดอย่างไร เพราะเมื่อไม่ได้เขียน ทางค่ายมือถือก็สามารถกำหนดการให้บริการอย่างไรก็ได้ และเมื่อมีการแข่งขันในตลาดเพียง 3 ราย ย่อมเอาเปรียบลูกค้า และลูกค้าก็จะไม่มีทางเลือก
ประเด็นที่ 2 กสทช.ไม่มีข้อกำหนดด้านราคา ว่าจะเก็บในอัตราสูงสุดเท่าไร จึงเป็นโอกาสให้กับผู้ให้บริการกำหนดค่าบริการได้เอง ประเด็นที่ 3 เป็นเรื่องของเงื่อนไขว่า ต้องให้บริการสำหรับผู้ด้อยโอกาส หรือคนในพื้นที่ชนบท ซึ่งประเด็นนี้ในต่างประเทศสามารถกำหนดได้เลยก่อนประมูล แต่ กสทช.ไม่ได้ทำ และประเด็นสุดท้าย กสทช.ไม่มีระเบียบใดๆ ที่กำหนดว่า รายได้เฉพาะที่ได้มาจากการประมูลจะนำไปทำอะไรให้เป็นประโยชน์กับประชาชน เพราะกฎหมายพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ปี 2553 กำหนดเพียงว่า รายได้จะต้องนำเข้ารัฐ แต่ กสทช.ควรจะประกาศเป็นแผนที่ชัดเจนกว่านี้
นายอานุภาพ ยืนยันว่า ส่วนตัวไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการประมูลคลื่น 3G แต่สิ่งที่รับไม่ได้คือการประมูลที่เกิดขึ้น ประโยชน์สูงสุดไม่ได้อยู่ที่ประชาชน
ด้านนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.คุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการฟ้องไม่น่าจะมีน้ำหนักพอที่จะทำให้ศาลรับไว้ ขณะเดียวกัน นายอานุภาพ ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากการประมูล เพราะเห็นได้จากการฟ้องระงับการประมูลเมื่อปี 2553 คนที่ฟ้องนั้นจะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่เสียประโยชน์ เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม หรือบริษัท ทีโอที เท่านั้น