นายโภคิน พลกุล ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า คณะทำงานฯ ได้หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นกับนายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในหลายประเด็น โดยเห็นตรงกันว่า รัฐธรรมนูญที่ร่างมาจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นจะอยู่ได้ไม่นาน ควรร่างรัฐธรรมนูญโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยให้มากที่สุด และต้องใช้เวลารณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจน แต่ต้องอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และควรมีองค์กรมาทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของรัฐธรรมนูญด้วย เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ หากจะต้องปรับเปลี่ยนที่มาของศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเพื่อความโปร่งใส
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นมีหลายประเด็นที่ควรแก้ไข โดยเฉพาะมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรคที่ควรลงโทษเฉพาะผู้กระทำความผิดเท่านั้น ไม่ควรลงโทษทั้งพรรค ทั้งนี้ หลังจากนี้คณะทำงานฯ จะเชิญนักวิชาการทั้งหมดที่เคยเชิญมาหารือก่อนหน้านี้มาร่วมประชุมกันอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นจึงจะส่งข้อสรุปให้กับพรรคร่วมรัฐบาลทราบ โดยจะพยายามทำให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ ในเดือนพฤศจิกายน
ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจน แต่ต้องอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และควรมีองค์กรมาทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของรัฐธรรมนูญด้วย เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ หากจะต้องปรับเปลี่ยนที่มาของศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเพื่อความโปร่งใส
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นมีหลายประเด็นที่ควรแก้ไข โดยเฉพาะมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรคที่ควรลงโทษเฉพาะผู้กระทำความผิดเท่านั้น ไม่ควรลงโทษทั้งพรรค ทั้งนี้ หลังจากนี้คณะทำงานฯ จะเชิญนักวิชาการทั้งหมดที่เคยเชิญมาหารือก่อนหน้านี้มาร่วมประชุมกันอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นจึงจะส่งข้อสรุปให้กับพรรคร่วมรัฐบาลทราบ โดยจะพยายามทำให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ ในเดือนพฤศจิกายน