วันนี้ (17 ก.ย.) ศาลอาญา รัชดาฯ นัดฟังคำสั่งกรณีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล ให้ไต่สวนคดีที่นายพัน คำกอง อายุ 43 ปี ชาว จ.ยโสธร อาชีพขับรถแท็กซี่ ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณถนนราชปรารภ เมื่อเช้ามืดวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ในช่วงการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่า สาเหตุการตายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่
ทั้งนี้ หลังศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและคำให้การของพยานและหลักฐานต่างๆ แล้ว เห็นว่าผู้ตาย คือนายพัน คำกอง ถูกยิงด้วยอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหาร ในระหว่างที่ทหารได้ระดมยิงรถตู้ หมายเลขทะเบียน ฮค 8561 กรุงเทพมหานคร ของนายสมร ไหมทอง ที่ขับเข้ามาในบริเวณแอร์พอร์ตลิงก์ ถนนราชปรารภ ซึ่งเป็นจุดประจำการของกำลังทหารที่มาประจำจุดตามคำสั่งของ ศอฉ. จนทำให้นายพัน คำกอง ถูกกระสุนปืนเสียชีวิต ส่วนนายสมร ได้รับบาดเจ็บ จึงสรุปได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจริง
หลังศาลเห็นพ้องตามที่อัยการเสนอ และมีคำสั่งออกมาว่านายพัน คำกอง เสียชีวิตจากฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ อัยการจะต้องส่งสำนวนการไต่สวนกลับไปให้พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะผู้รับผิดชอบคดีการเสียชีวิตของกลุ่มคนเสื้อแดง ไปสืบสวนหาผู้ที่กระทำผิดต่อไป
ทางด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยอมรับคำสั่งคดีของศาลในวันนี้ โดยระบุว่า คดีนี้เป็นคดีแรกจากจำนวน 36 สำนวน การเสียชีวิตในช่วงสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 โดยเมื่อผลของคดีแรกออกมา จะถือเป็นปฐมบทสำคัญของคดีต่อๆ ไป การพิจารณาของศาลจะรวดเร็ว และแนวทางจะเด่นชัดมากขึ้น
ทั้งนี้ หลังศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและคำให้การของพยานและหลักฐานต่างๆ แล้ว เห็นว่าผู้ตาย คือนายพัน คำกอง ถูกยิงด้วยอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหาร ในระหว่างที่ทหารได้ระดมยิงรถตู้ หมายเลขทะเบียน ฮค 8561 กรุงเทพมหานคร ของนายสมร ไหมทอง ที่ขับเข้ามาในบริเวณแอร์พอร์ตลิงก์ ถนนราชปรารภ ซึ่งเป็นจุดประจำการของกำลังทหารที่มาประจำจุดตามคำสั่งของ ศอฉ. จนทำให้นายพัน คำกอง ถูกกระสุนปืนเสียชีวิต ส่วนนายสมร ได้รับบาดเจ็บ จึงสรุปได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจริง
หลังศาลเห็นพ้องตามที่อัยการเสนอ และมีคำสั่งออกมาว่านายพัน คำกอง เสียชีวิตจากฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ อัยการจะต้องส่งสำนวนการไต่สวนกลับไปให้พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะผู้รับผิดชอบคดีการเสียชีวิตของกลุ่มคนเสื้อแดง ไปสืบสวนหาผู้ที่กระทำผิดต่อไป
ทางด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยอมรับคำสั่งคดีของศาลในวันนี้ โดยระบุว่า คดีนี้เป็นคดีแรกจากจำนวน 36 สำนวน การเสียชีวิตในช่วงสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 โดยเมื่อผลของคดีแรกออกมา จะถือเป็นปฐมบทสำคัญของคดีต่อๆ ไป การพิจารณาของศาลจะรวดเร็ว และแนวทางจะเด่นชัดมากขึ้น