พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดี 91 ศพ จากเหตุชุมนุมทางการเมืองปี 2553 เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย.) คณะพนักงานสอบสวนได้เรียกสอบนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เพื่อขอข้อมูลที่นายถวิลเคยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อไว้หลายครั้ง หลายประเด็น รวมทั้งกรณีที่นายถวิลไม่ค่อยสบายใจ ที่กล่าวว่าดีเอสไอเปลี่ยนจุดยืน ซึ่งจะสอบถามตั้งแต่แนวทางการตั้ง ศอฉ.มีการบริหารจัดการด้านเอกสาร การออกคำสั่ง ข้อมูลที่มีผู้เสนอในที่ประชุม ศอฉ.ในการตัดสินใจแต่ละครั้ง
นอกจากนี้ คณะพนักงานสอบสวนยังมีความเห็น จะเชิญรัฐมนตรีทั้งคณะในคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ที่มีมติให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และมติในการตั้ง ศอฉ.มาให้ข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งจะต้องเรียก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหากบก มาให้ข้อมูลด้วย โดยในวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายนนี้ คณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้จะประชุมร่วมกับตำรวจและอัยการคดีพิเศษ ซึ่งจะหารือกันให้สอบปากคำ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะกรรมการ ศอฉ. เป็นพยานด้วย เนื่องจากมีการพาดพิงถึงโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานสอบสวนในส่วนของดีเอสไอจะไม่ร่วมสอบปากคำนายธาริต แต่จะให้ตำรวจเป็นผู้สอบปากคำ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และจะเรียกสอบแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็ชการแห่งชาติ (นปช.) ที่เข้ามอบตัวในวันที่การชุมนุมสิ้นสุดลง ให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนเช่นกัน
พ.ต.อ.ประเวศน์ กล่าวต่อไปว่า คดี 91 ศพ แบ่งเป็น 32 คดี ตามการเสียชีวิตในแต่ละพื้นที่และคนละช่วงเวลา โดยแยกกรณีการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และการเสียชีวิตของทหารอีกหลายคนเป็นหนึ่งคดี ซึ่งการสรุปสำนวนแจ้งข้อหา จะทยอยเป็นรายคดี โดยคณะพนักงานสอบสวนชุดใหญ่ที่ประกอบด้วย ดีเอสไอ อัยการ ตำรวจ จะดูในภาพรวมของผู้ให้นโยบาย ระดับสั่งการ ตั้งแต่เริ่มตั้ง ศอฉ.จนสิ้นสุดการชุมนุม ได้ดำเนินการถูกขั้นตอนหรือไม่ มีการประเมินความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นหรือไม่
นอกจากนี้ คณะพนักงานสอบสวนยังมีความเห็น จะเชิญรัฐมนตรีทั้งคณะในคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ที่มีมติให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และมติในการตั้ง ศอฉ.มาให้ข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งจะต้องเรียก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหากบก มาให้ข้อมูลด้วย โดยในวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายนนี้ คณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้จะประชุมร่วมกับตำรวจและอัยการคดีพิเศษ ซึ่งจะหารือกันให้สอบปากคำ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะกรรมการ ศอฉ. เป็นพยานด้วย เนื่องจากมีการพาดพิงถึงโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานสอบสวนในส่วนของดีเอสไอจะไม่ร่วมสอบปากคำนายธาริต แต่จะให้ตำรวจเป็นผู้สอบปากคำ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และจะเรียกสอบแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็ชการแห่งชาติ (นปช.) ที่เข้ามอบตัวในวันที่การชุมนุมสิ้นสุดลง ให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนเช่นกัน
พ.ต.อ.ประเวศน์ กล่าวต่อไปว่า คดี 91 ศพ แบ่งเป็น 32 คดี ตามการเสียชีวิตในแต่ละพื้นที่และคนละช่วงเวลา โดยแยกกรณีการเสียชีวิตของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และการเสียชีวิตของทหารอีกหลายคนเป็นหนึ่งคดี ซึ่งการสรุปสำนวนแจ้งข้อหา จะทยอยเป็นรายคดี โดยคณะพนักงานสอบสวนชุดใหญ่ที่ประกอบด้วย ดีเอสไอ อัยการ ตำรวจ จะดูในภาพรวมของผู้ให้นโยบาย ระดับสั่งการ ตั้งแต่เริ่มตั้ง ศอฉ.จนสิ้นสุดการชุมนุม ได้ดำเนินการถูกขั้นตอนหรือไม่ มีการประเมินความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นหรือไม่