ในปี 2557 สินค้าของไทยบางรายการจะถูกตัดสิทธิ์พิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ จีเอสพี (GSP) และในปี 2558 สินค้าไทยจะถูกตัดสิทธิ์ GSP ทั้งหมด เนื่องจากสหภาพยุโรป (อียู) พิจารณาว่าไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ในระดับปานกลาง จึงไม่จำเป็นต้องให้สิทธิ์พิเศษอีกต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ จึงเร่งเจรจาเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ (FTA) ระหว่างไทย-อียู โดยนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า ขณะนี้ใกล้สรุปรายละเอียดขั้นเตรียมการ จากนั้นจะนำเสนอให้สภาฯ พิจารณาเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ และคาดว่าจะสามารถเปิดการเจรจากับอียูได้ในต้นปีหน้า
รายละเอียดสำคัญของกรอบการเจรจาจะเน้นภาพรวม การเป็นพันธมิตรระยะยาว ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถใช้โอกาสที่เศรษฐกิจในอียูชะลอตัว เข้ามาขยายตัว โดยเฉพาะอาหารแปรรูป และอสังหาริมทรัพย์
ขณะเดียวกัน อียูสามารถเพิ่มการลงทุนในไทย และใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกสินค้า ซึ่งปัจจุบันอียูลงทุนเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า การทำเอฟทีเอระหว่างกันจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย และเป็นเครื่องมือทางการค้าที่ช่วยลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการไทยจากการถูกตัด GSP
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ จึงเร่งเจรจาเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ (FTA) ระหว่างไทย-อียู โดยนางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า ขณะนี้ใกล้สรุปรายละเอียดขั้นเตรียมการ จากนั้นจะนำเสนอให้สภาฯ พิจารณาเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ และคาดว่าจะสามารถเปิดการเจรจากับอียูได้ในต้นปีหน้า
รายละเอียดสำคัญของกรอบการเจรจาจะเน้นภาพรวม การเป็นพันธมิตรระยะยาว ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถใช้โอกาสที่เศรษฐกิจในอียูชะลอตัว เข้ามาขยายตัว โดยเฉพาะอาหารแปรรูป และอสังหาริมทรัพย์
ขณะเดียวกัน อียูสามารถเพิ่มการลงทุนในไทย และใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกสินค้า ซึ่งปัจจุบันอียูลงทุนเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า การทำเอฟทีเอระหว่างกันจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย และเป็นเครื่องมือทางการค้าที่ช่วยลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการไทยจากการถูกตัด GSP