3 เดือนเศษหลังขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ต ทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ได้รับผลกระทบชัดเจน หากปรับเป็น 300 บาททั่วประเทศ มีแนวโน้มลดขนาดโรงงานในอีสาน แล้วย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ปัญหาแรงงานที่ต้องเผชิญในปีนี้คือ การย้ายถิ่นฐานมายังเมืองใหญ่มากขึ้น เพราะโรงงานในจังหวัดเล็กๆ จะปิดตัว โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ที่คาดว่าจะปิดตัว 80,000 - 130,000 ราย และอีก 40,000 - 50,000 ราย สถานการณ์น่าเป็นห่วง นอกจากนี้อาจมีคนตกงาน ประมาณ 500,000 - 1,000,000 คน
ขณะที่ผลสำรวจประกอบการเอสเอ็มอี ใน 7 จังหวัดนำร่อง หลังขึ้นค่าแรงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พบว่าร้อยละ 87 ได้รับผลกระทบ แม้ว่าส่วนใหญ่ระบุว่า จะรับมือผลกระทบได้ แต่มีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 17 ซึ่ง จ.สมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีต้นทุนเพิ่มมากที่สุด รองลงมาคือ กรุงเทพฯ และปทุมธานี ส่วนวิธีที่ผู้ประกอบการเกือบครึ่งนำมาใช้ปรับตัว คือ ขึ้นราคาสินค้า ลดพนักงาน และลดปริมาณการผลิต
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ปัญหาแรงงานที่ต้องเผชิญในปีนี้คือ การย้ายถิ่นฐานมายังเมืองใหญ่มากขึ้น เพราะโรงงานในจังหวัดเล็กๆ จะปิดตัว โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ที่คาดว่าจะปิดตัว 80,000 - 130,000 ราย และอีก 40,000 - 50,000 ราย สถานการณ์น่าเป็นห่วง นอกจากนี้อาจมีคนตกงาน ประมาณ 500,000 - 1,000,000 คน
ขณะที่ผลสำรวจประกอบการเอสเอ็มอี ใน 7 จังหวัดนำร่อง หลังขึ้นค่าแรงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พบว่าร้อยละ 87 ได้รับผลกระทบ แม้ว่าส่วนใหญ่ระบุว่า จะรับมือผลกระทบได้ แต่มีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 17 ซึ่ง จ.สมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีต้นทุนเพิ่มมากที่สุด รองลงมาคือ กรุงเทพฯ และปทุมธานี ส่วนวิธีที่ผู้ประกอบการเกือบครึ่งนำมาใช้ปรับตัว คือ ขึ้นราคาสินค้า ลดพนักงาน และลดปริมาณการผลิต