น.พ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษาพิเศษ กรมควบคุมโรค ในฐานะนักไวรัสวิทยา เปิดเผยว่า ตามที่ทางกรมควบคุมโรคได้แถลงข่าว ด.ญ.วัย 2 ขวบ 8 เดือน เสียชีวิตจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 โรคมือเท้าปากชนิดร้ายแรงจริงแล้วนั้น คนไทยต้องยอมรับความจริงว่า โรคชนิดนี้ถ้าเป็นชนิดรุนแรง โอกาสเสียชีวิตเกิดขึ้นได้ทุกคน และแนวทางการรักษา หากเกิดโรคนี้ ยังไม่มียาที่ระบุว่าสามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์ต้องรักษาตามอาการอย่างเดียว หากเชื้อไม่แรงก็มีโอกาสรอดชีวิตสูง แต่ถ้าเจอเชื้อโรครุนแรง เช่น ด.ญ. 2 ขวบ ก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้น ต่อไปนี้คนไทยต้องหาทางป้องกันมากกว่ารักษา โดยเฉพาะในช่วงนี้ ไม่ควรบุตรหลานที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ไปเดินตามห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่สาธารณะ และหากป่วย ควรให้หยุดโรงเรียนทันที และรีบทำการรักษา
น.พ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า เชื้อโรคมือเท้าปากที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตรายแรกนี้ ไม่ใช่เชื้อที่มาจากประเทศกัมพูชาแน่ แต่ไม่ทราบว่ามาจากที่ใด สำนักระบาดวิทยาต้องตรวจสอบอีกครั้ง แต่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อที่มาจากที่ใดก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ทั้งหมด จึงไม่ต้องสนใจว่ามาจากที่ใด แต่ควรสนใจว่าจะหาทางป้องกันไม่ให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างไรมากกกว่า
สำหรับตัวเลขอย่างเป็นทางการจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปรากฏว่า ตัวเลขคนป่วยสะสมทั้งปี โรคมือเท้าปาก อยู่ที่ 16,860 ราย โดยจังหวัดพะเยา พบผู้ป่วยต่ออัตราประชากรสูงที่สุด
น.พ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า เชื้อโรคมือเท้าปากที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตรายแรกนี้ ไม่ใช่เชื้อที่มาจากประเทศกัมพูชาแน่ แต่ไม่ทราบว่ามาจากที่ใด สำนักระบาดวิทยาต้องตรวจสอบอีกครั้ง แต่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อที่มาจากที่ใดก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ทั้งหมด จึงไม่ต้องสนใจว่ามาจากที่ใด แต่ควรสนใจว่าจะหาทางป้องกันไม่ให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างไรมากกกว่า
สำหรับตัวเลขอย่างเป็นทางการจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปรากฏว่า ตัวเลขคนป่วยสะสมทั้งปี โรคมือเท้าปาก อยู่ที่ 16,860 ราย โดยจังหวัดพะเยา พบผู้ป่วยต่ออัตราประชากรสูงที่สุด