น.พ.ศรายุทธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 พบผู้ป่วยแล้ว 84 ราย จังหวัดศรีสะเกษ มีผู้ป่วยสูงสุด 41 ราย อุบลราชธานี 28 ราย นครพนม 7 ราย สกลนครและอำนาจเจริญ จังหวัดละ 3 ราย ยโสธรและมุกดาหาร จังหวัด 1 ราย โดยยังไม่มีผู้เสียชีวิต
สำหรับโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็ก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในการป้องกันและควบคุมโรคนั้น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ได้ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เฝ้าระวังและจัดเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และรณรงค์ให้ประชาชนเป็นเครือข่ายในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยมาตรการ 5 ป. ได้แก่ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย
สำหรับโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็ก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในการป้องกันและควบคุมโรคนั้น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ได้ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เฝ้าระวังและจัดเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และรณรงค์ให้ประชาชนเป็นเครือข่ายในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยมาตรการ 5 ป. ได้แก่ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย