นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนนี้ ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกร ผู้มีอาชีพทำไร่ ทำนา จะมีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อโรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรซิส) สูงกว่าฤดูอื่น เนื่องจากมีแหล่งน้ำขังจำนวนมาก โดยเชื้อจะอยู่ในฉี่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ เช่น หนู วัว ควาย แต่จะพบมากที่สุดในฉี่ของหนูทุกชนิด ซึ่งเชื้อจะอยู่ตามแอ่งน้ำขัง ดินโคลนที่เฉอะแฉะ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทาง คือ การรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนฉี่หนูเข้าไป และการไชเข้าทางแผล ตามเยื่อบุในปาก ตา หรือรอยผิวหนังถลอก รวมทั้งผิวหนังปกติที่แช่น้ำนานๆ เชื้อก็สามารถไชผ่านได้เช่นกัน
หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 7-10 วัน จะเริ่มมีอาการเฉพาะ ได้แก่ มีไข้สูงทันที ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมาก เฉพาะที่น่องขาทั้งสองข้าง ควรรีบปรึกษาแพทย์ แจ้งประวัติการเดินลุยน้ำ ห้ามซื้อยากินเอง เพราะอาจจะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนได้
ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปีนี้มีคนไทยป่วยด้วยโรคฉี่หนูทั่วประเทศ 722 ราย และเสียชีวิต 17 ราย มากที่สุดในภาคอีสาน ร้อยละ 59 ที่ จ.สุรินทร์ ป่วย 78 ราย และศรีสะเกษ 71 ราย
หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 7-10 วัน จะเริ่มมีอาการเฉพาะ ได้แก่ มีไข้สูงทันที ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมาก เฉพาะที่น่องขาทั้งสองข้าง ควรรีบปรึกษาแพทย์ แจ้งประวัติการเดินลุยน้ำ ห้ามซื้อยากินเอง เพราะอาจจะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนได้
ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปีนี้มีคนไทยป่วยด้วยโรคฉี่หนูทั่วประเทศ 722 ราย และเสียชีวิต 17 ราย มากที่สุดในภาคอีสาน ร้อยละ 59 ที่ จ.สุรินทร์ ป่วย 78 ราย และศรีสะเกษ 71 ราย