นายแพทย์พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยาแก้ปวดของคนไทย พบ มีการใช้ยาแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ พาราเซตามอล ซึ่งส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นยาแก้ปวดสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด ในความเป็นจริงแล้ว อย. ขอเตือนว่า เป็นความเข้าใจผิด เนื่องจาก ยาแก้ปวดแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยในการใช้ยาแตกต่างกัน
โดยกลุ่มยาแก้ปวด ที่ใช้สําหรับอาการปวดไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน มีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้และต้านการอักเสบ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ เนื่องจาก จะมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทําให้คลื่นไส้ปวดท้อง เป็นแผลบริเวณทางเดินอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจรุนแรงทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองอุดตัน ทําให้ง่วงซึม มึนงง ซึมเศร้า รวมทั้ง จะขัดขวางการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ไตบวม ระดับโปตัสเซียมและโซเดียมในเลือดสูง ไตวาย และมีผลต่อผิวหนัง โดยมีอาการผื่นคัน ผิวหนังพอง บางรายอาจมีการแพ้แสงแดดอีกด้วย
นอกจากนี้ ยาพาราเซตามอล ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายนั้น หากใช้ยาเกินปริมาณที่แนะนำอาจเกิดพิษต่อตับ จนนำไปสู่ภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด
โดยกลุ่มยาแก้ปวด ที่ใช้สําหรับอาการปวดไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน มีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้และต้านการอักเสบ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ เนื่องจาก จะมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทําให้คลื่นไส้ปวดท้อง เป็นแผลบริเวณทางเดินอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจรุนแรงทําให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองอุดตัน ทําให้ง่วงซึม มึนงง ซึมเศร้า รวมทั้ง จะขัดขวางการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ไตบวม ระดับโปตัสเซียมและโซเดียมในเลือดสูง ไตวาย และมีผลต่อผิวหนัง โดยมีอาการผื่นคัน ผิวหนังพอง บางรายอาจมีการแพ้แสงแดดอีกด้วย
นอกจากนี้ ยาพาราเซตามอล ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายนั้น หากใช้ยาเกินปริมาณที่แนะนำอาจเกิดพิษต่อตับ จนนำไปสู่ภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด