นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ สปส.ได้เห็นชอบร่างประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราการบริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินและประสบอันตราย ซึ่งมีสาระสำคัญ โดยกำหนดให้กรณีผู้ป่วยระบบอื่นมาใช้บริการในโรงพยาบาลเครือข่ายระบบประกันสังคมได้ โดยให้คิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 10,500 บาทต่อระดับความรุนแรงของโรค และค่ารักษาพยาบาลทั่วไปก็ให้คิดตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีสิทธิ์อยู่ในระบบประกันสังคม และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม ยังคงคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 1.5 หมื่นบาทต่อระดับความรุนแรงของโรค
ทั้งนี้ โรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม จะต้องให้การรักษาผู้ป่วยจากทุกระบบกองทุนสุขภาพจนพ้นขีดอันตรายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งโรงพยาบาลที่ให้การรักษาสามารถมาเบิกค่ารักษาย้อนหลังได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการจ่ายเงินค่ารักษาของแต่ละระบบกองทุนสุขภาพ
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในร่างประกาศข้างต้นยังได้แนบท้ายโรคต่างๆ ที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน ประมาณ 13 กลุ่มโรค เช่น โรคเส้นเลือดในสมองแตก หัวใจวายเฉียบพลัน โรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการขยายความจากประกาศของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ที่มีการกำหนดลักษณะอาการของโรคที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉินไว้ เพื่อป้องกันกรณีผู้ที่ไม่ได้เจ็บป่วยฉุกเฉินจริงไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลที่ให้การรักษาไม่สามารถเบิกค่ารักษาย้อนหลังได้
ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีสิทธิ์อยู่ในระบบประกันสังคม และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม ยังคงคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 1.5 หมื่นบาทต่อระดับความรุนแรงของโรค
ทั้งนี้ โรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม จะต้องให้การรักษาผู้ป่วยจากทุกระบบกองทุนสุขภาพจนพ้นขีดอันตรายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งโรงพยาบาลที่ให้การรักษาสามารถมาเบิกค่ารักษาย้อนหลังได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการจ่ายเงินค่ารักษาของแต่ละระบบกองทุนสุขภาพ
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในร่างประกาศข้างต้นยังได้แนบท้ายโรคต่างๆ ที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน ประมาณ 13 กลุ่มโรค เช่น โรคเส้นเลือดในสมองแตก หัวใจวายเฉียบพลัน โรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการขยายความจากประกาศของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ที่มีการกำหนดลักษณะอาการของโรคที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉินไว้ เพื่อป้องกันกรณีผู้ที่ไม่ได้เจ็บป่วยฉุกเฉินจริงไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลที่ให้การรักษาไม่สามารถเบิกค่ารักษาย้อนหลังได้