ดร. น.พ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคมะเร็งเต้านมในประเทศไทย ว่า ถือเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของหญิงไทยมากที่สุด โดยต่อปีมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 6,000-7,000 คน อัตราการเสียชีวิตประมาณ 3,000 คน ซึ่งขณะนี้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สูงกว่ามะเร็งปากมดลูก ที่เคยมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว
ทั้งนี้ โรคดังกล่าวมักเกิดกับผู้หญิงที่มีฮอร์โมนมาก มีประจำเดือนเร็ว ตั้งแต่อายุ 10 ปี หรือหมดประจำเดือนช้า
สำหรับโรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคทางพันธุกรรม หากมีญาติพี่น้องเป็นโรคดังกล่าว ก็จะมีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนอื่น รวมทั้งผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย คนอ้วน ดังนั้น ควรป้องกันโดยการออกกำลังกาย กินผัก ผลไม้ ให้มากๆ และหมั่นตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้หญิงอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ควรไปเอกซเรย์เต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการเอกซเรย์เต้านมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด กรมอนามัยจึงจะจัดโครงการพิเศษเอกซเรย์เต้านมสำหรับผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงฟรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปีนี้
ทั้งนี้ โรคดังกล่าวมักเกิดกับผู้หญิงที่มีฮอร์โมนมาก มีประจำเดือนเร็ว ตั้งแต่อายุ 10 ปี หรือหมดประจำเดือนช้า
สำหรับโรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคทางพันธุกรรม หากมีญาติพี่น้องเป็นโรคดังกล่าว ก็จะมีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนอื่น รวมทั้งผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย คนอ้วน ดังนั้น ควรป้องกันโดยการออกกำลังกาย กินผัก ผลไม้ ให้มากๆ และหมั่นตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้หญิงอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ควรไปเอกซเรย์เต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการเอกซเรย์เต้านมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด กรมอนามัยจึงจะจัดโครงการพิเศษเอกซเรย์เต้านมสำหรับผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงฟรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปีนี้