นายสำราญ จิตมานะ พัฒนาการจังหวัดพังงา กล่าวในเวทีสมัชชาสวัสดิการชุมชนคนพังงาว่า พร้อมสนับสนุนการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างเต็มที่ และสนับสนุนให้กองทุนต่างๆซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนดูแลอยู่กว่า 900 กองทุน อาทิ กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน.กองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้มาเชื่อมโยงกับกองทุนสวัสดิการชุมชนและต้องการให้บรรจุการพัฒนากองทนุสวัสดิการชุมชนไว้ในแผนชุมชนของหมู่บ้านเพื่อที่หน่วยงานต่างๆ จะให้การสนับสุนนต่อไป
ขณะที่นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา กล่าวว่า อบจ.พังงาให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนมาตั้งแต่ปี 2548 แต่หยุดชะงักไปในปี 2552 เพราะการท้วงติงจาก สตง. ต่อมาในปี 2553 มีมติคณะรัฐมนตรี และหนังสือจากกระทรวงมหาดไทย ที่ระบุว่าการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน อบจ.ต้องสนับสนุนผ่าน อบต.หรือเทศบาล อบจ.ยินดีสนับสนุนกองทุนสวัสดิการ แต่ อจบ.พังงา มีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อาจจะสนับสนุนได้ไม่เต็มที่
ทางด้านนายสมชาย ตันติเพชราภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดพังงา ระบุว่า หอการค้ายินดีสนับสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นขาที่ 4 นอกเหนือจากรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิก แต่หอการค้าเองก็อาจจะไม่มีงบประมาณมากนัก อย่างไรก็ตาม ตนเองจะช่วยประสานงานกับองค์กรธุรกิจอื่นๆ เช่น ชมรมธนาคาร ให้มาทำงานสนับสนุนร่วมกันด้วย
ขณะเดียวกัน นางประคอง สุทธินนท์ ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันคนพังงาร้อยละ 13 เป็นผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการต้องช่วยกันดูแลกลุ่มประชากรกลุ่มนี้มากขึ้นในอนาคต
นายสมใจ ชมขวัญ รองนายก อบต.ถ้ำน้ำผุด ระบุว่า อบต.สามารถให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการของชุมชนได้เต็มที่ ไม่ติดขัดระเบียบอะไร เป็นภารกิจที่ต้องทำขององค์กรปกครองท้องถิ่น กองทุนสวัสดิการมีระบระเบีบยการบริหารจัดการที่ชัดเจนกว่ากลุ่มอื่นๆ ในชุมชนที่ อบต.สนับสนุนเสียด้วยซ้ำ แต่กองทุนต้องระมัดระวังในการที่จะดึงฝ่ายการเมืองมาเป็นกรรมการหรือประธานของกองทุน เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจจะส่งผลกระทบกับการดำเนินการของกองทุนได้
นายอัมพร แก้วหนู เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า ซึ่งบรรยายในช่วงก่อนเสวนาเสนอว่า ทิศทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนที่สำคัญคือการเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น ปัจจุบันกองทุนกว่า 3,700 กองทุน มีสมาชิกเพียง 2.5 ล้านคนเท่านั้น ควรตั้งเป้าหมายสมาชิกให้มีอย่างน้อยร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ
นอกจากนี้ ควรพัฒนากองทุนสวัสดิการให้พ้นไปจากแค่เกิดแก่เจ็บตาย เช่น การศึกษา ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือสมาชิกทางด้านอื่นๆ รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารจัดการของกองทุนด้านต่างๆเช่นระบบบัญชี การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน เป็นต้น โดยกองทุนสวัสดิการต้องคิดเรื่องการพึ่งตนเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่โดยการระดมทุนของตนเองจนสามารถพึ่งตนเอง ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ และต้องมีการเชื่อมโยงกองทุนกับกองทุนอื่นๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้านให้มาจัดสวัสดิการคนในชุมชนร่วมกัน
ทั้งนี้ จังหวัดพังงามีพื้นที่องค์กรปกครองท้องถิ่น 51 แห่ง มีการจัดตั้งกองทุนแล้ว 46 กองทุน
ขณะที่นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา กล่าวว่า อบจ.พังงาให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนมาตั้งแต่ปี 2548 แต่หยุดชะงักไปในปี 2552 เพราะการท้วงติงจาก สตง. ต่อมาในปี 2553 มีมติคณะรัฐมนตรี และหนังสือจากกระทรวงมหาดไทย ที่ระบุว่าการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน อบจ.ต้องสนับสนุนผ่าน อบต.หรือเทศบาล อบจ.ยินดีสนับสนุนกองทุนสวัสดิการ แต่ อจบ.พังงา มีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อาจจะสนับสนุนได้ไม่เต็มที่
ทางด้านนายสมชาย ตันติเพชราภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดพังงา ระบุว่า หอการค้ายินดีสนับสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นขาที่ 4 นอกเหนือจากรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิก แต่หอการค้าเองก็อาจจะไม่มีงบประมาณมากนัก อย่างไรก็ตาม ตนเองจะช่วยประสานงานกับองค์กรธุรกิจอื่นๆ เช่น ชมรมธนาคาร ให้มาทำงานสนับสนุนร่วมกันด้วย
ขณะเดียวกัน นางประคอง สุทธินนท์ ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันคนพังงาร้อยละ 13 เป็นผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการต้องช่วยกันดูแลกลุ่มประชากรกลุ่มนี้มากขึ้นในอนาคต
นายสมใจ ชมขวัญ รองนายก อบต.ถ้ำน้ำผุด ระบุว่า อบต.สามารถให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการของชุมชนได้เต็มที่ ไม่ติดขัดระเบียบอะไร เป็นภารกิจที่ต้องทำขององค์กรปกครองท้องถิ่น กองทุนสวัสดิการมีระบระเบีบยการบริหารจัดการที่ชัดเจนกว่ากลุ่มอื่นๆ ในชุมชนที่ อบต.สนับสนุนเสียด้วยซ้ำ แต่กองทุนต้องระมัดระวังในการที่จะดึงฝ่ายการเมืองมาเป็นกรรมการหรือประธานของกองทุน เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจจะส่งผลกระทบกับการดำเนินการของกองทุนได้
นายอัมพร แก้วหนู เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า ซึ่งบรรยายในช่วงก่อนเสวนาเสนอว่า ทิศทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนที่สำคัญคือการเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น ปัจจุบันกองทุนกว่า 3,700 กองทุน มีสมาชิกเพียง 2.5 ล้านคนเท่านั้น ควรตั้งเป้าหมายสมาชิกให้มีอย่างน้อยร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ
นอกจากนี้ ควรพัฒนากองทุนสวัสดิการให้พ้นไปจากแค่เกิดแก่เจ็บตาย เช่น การศึกษา ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือสมาชิกทางด้านอื่นๆ รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารจัดการของกองทุนด้านต่างๆเช่นระบบบัญชี การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน เป็นต้น โดยกองทุนสวัสดิการต้องคิดเรื่องการพึ่งตนเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่โดยการระดมทุนของตนเองจนสามารถพึ่งตนเอง ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ และต้องมีการเชื่อมโยงกองทุนกับกองทุนอื่นๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้านให้มาจัดสวัสดิการคนในชุมชนร่วมกัน
ทั้งนี้ จังหวัดพังงามีพื้นที่องค์กรปกครองท้องถิ่น 51 แห่ง มีการจัดตั้งกองทุนแล้ว 46 กองทุน