กรุงเทพโพล สำรวจความเห็นของแรงงานในโอกาสที่ วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จะเป็นวันแรงงานแห่งชาติ เรื่อง "ชีวิตของแรงงานหลังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท" โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมกว่า 1,180 ตัวอย่าง พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.1 ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท แล้ว ขณะที่ร้อยละ 20.9 ระบุว่ายังไม่ได้รับ เนื่องจากนายจ้างยังไม่อนุมัติการปรับเพิ่มค่าจ้าง
สำหรับรายที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน แล้วเห็นว่า ยังต้องทำงานเหมือนเดิม ร้อยละ 82.4 ต้องทำงานหนักมากขึ้นร้อยละ 15.4 ทำงานน้อยลงร้อยละ 1.3 และยังพบปัญหาการทำงานล่วงเวลาน้อยลง หรือมีการเพิ่มกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ของบริษัท เพื่อจำกัดการจ่ายค่าจ้าง
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท จะทำให้กิจการที่ทำอยู่มีกำไรลดลง ขาดทุน หรือเลิกกิจการได้ ที่สำคัญกลุ่มตัวอย่างรวมเกินกว่าร้อยละ 40 เห็นว่าการได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้
ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.4 ระบุว่าไม่กังวลว่าจะมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานทำ ส่วนร้อยละ 31.1 ระบุว่ากังวลมากที่สุด
ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลมากที่สุด คือ สวัสดิการทางสังคม ดูแลนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ดูแลค่าจ้าง ค่าแรง และความปลอดภัยในการทำงาน
สำหรับรายที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน แล้วเห็นว่า ยังต้องทำงานเหมือนเดิม ร้อยละ 82.4 ต้องทำงานหนักมากขึ้นร้อยละ 15.4 ทำงานน้อยลงร้อยละ 1.3 และยังพบปัญหาการทำงานล่วงเวลาน้อยลง หรือมีการเพิ่มกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ของบริษัท เพื่อจำกัดการจ่ายค่าจ้าง
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท จะทำให้กิจการที่ทำอยู่มีกำไรลดลง ขาดทุน หรือเลิกกิจการได้ ที่สำคัญกลุ่มตัวอย่างรวมเกินกว่าร้อยละ 40 เห็นว่าการได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้
ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.4 ระบุว่าไม่กังวลว่าจะมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานทำ ส่วนร้อยละ 31.1 ระบุว่ากังวลมากที่สุด
ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลมากที่สุด คือ สวัสดิการทางสังคม ดูแลนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ดูแลค่าจ้าง ค่าแรง และความปลอดภัยในการทำงาน