น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในฐานะประธานคณะทำงานผลักดันร่างกฎหมายประกันสังคม พร้อมด้วยแรงงานกว่า 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้เร่งพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมที่ยังค้างในสภาฯ ให้ทันในสมัยประชุมนี้ แต่ไม่มีใครออกมารับหนังสือ
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมาทวงถามความคืบหน้าการพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับผู้ใช้แรงงาน หลังจากที่มายื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการพิจารณาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่วันที่ 8 วันที่ 22 มีนาคม และวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา ว่าเป็นเพราะตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา ยังไม่มีการหยิบยกร่างกฎหมายประกันสังคม หรือร่างกฎหมายภาคประชาชนฉบับอื่นๆ มาพิจารณา ตามที่รัฐสภานำมาเป็นข้ออ้างในการขอขยายเวลาการประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตปี 2555 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด มีเพียงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนั้น จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวิปรัฐบาล และวิปฝ่ายค้าน รวมถึงคณะกรรมาธิการแรงงาน ออกมาให้ความชัดเจนและแสดงความจริงใจในเรื่องนี้
ทั้งนี้ น.ส.วิไลวรรณ ยืนยันว่า จะผลักดันร่างกฎหมายประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากนี้จะลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงาน เกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว พร้อมทั้งจัดเวทีประชาพิจารณ์ รวมถึงหารือถึงมาตรการในการกดดันรัฐบาลต่อไป เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอ
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมาทวงถามความคืบหน้าการพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับผู้ใช้แรงงาน หลังจากที่มายื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการพิจารณาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่วันที่ 8 วันที่ 22 มีนาคม และวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา ว่าเป็นเพราะตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา ยังไม่มีการหยิบยกร่างกฎหมายประกันสังคม หรือร่างกฎหมายภาคประชาชนฉบับอื่นๆ มาพิจารณา ตามที่รัฐสภานำมาเป็นข้ออ้างในการขอขยายเวลาการประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตปี 2555 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด มีเพียงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนั้น จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวิปรัฐบาล และวิปฝ่ายค้าน รวมถึงคณะกรรมาธิการแรงงาน ออกมาให้ความชัดเจนและแสดงความจริงใจในเรื่องนี้
ทั้งนี้ น.ส.วิไลวรรณ ยืนยันว่า จะผลักดันร่างกฎหมายประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากนี้จะลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงาน เกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว พร้อมทั้งจัดเวทีประชาพิจารณ์ รวมถึงหารือถึงมาตรการในการกดดันรัฐบาลต่อไป เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอ