นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประชาชนนิยมนำดินสอพองมาใช้เล่นสงกรานต์ โดยนำมาผสมกับสีต่างๆ ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนจุลินทรีย์และเชื้อโรคอื่นๆ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงสุ่มตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 ได้เก็บตัวอย่างดินสอพอง จำนวน 23 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานโดยพบสารปนเปื้อนจุลินทรีย์อยู่ในปริมาณสูง ตั้งแต่ 12,000 - 27,000,000 โคโลนีต่อกรัม และตรวจบสารหนู 5 ตัวอย่าง ตั้งแต่ 2.5 - 2.9 ไมโครกรัมต่อกรัม ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องสำอาง ตามประกาศสาธารณสุขที่กำหนดต้องไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม ส่วนสารหนูไม่เกิน 2 ไมโครกรัมต่อกรัม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ดินสอพองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติและไม่สามารถระบุคุณภาพด้วยการสังเกตได้ ถ้าหากกระบวนการผลิตไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานมีโอกาสเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคและโลหะหนักได้ ซึ่งถ้าสัมผัสผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือหากเข้าตา บาดแผล อาจทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรง เข้าปากอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียภายใน 8 - 22 ชั่วโมง หรือเกิดอาการติดเชื้อได้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ดินสอพองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติและไม่สามารถระบุคุณภาพด้วยการสังเกตได้ ถ้าหากกระบวนการผลิตไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานมีโอกาสเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคและโลหะหนักได้ ซึ่งถ้าสัมผัสผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือหากเข้าตา บาดแผล อาจทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรง เข้าปากอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียภายใน 8 - 22 ชั่วโมง หรือเกิดอาการติดเชื้อได้