นายปฏิภาณ จุมผา ผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือพอช.เปิดเผยว่า เครือข่ายองค์กรชุมชนและภาคีลุ่มน้ำภาคเหนือ ได้จัดทำข้อเสนอการจัดการน้ำและภัยพิบัติภาคประชาชนภาคเหนือ เพื่อนำสรุปข้อตกลงร่วม และข้อเสนอต่องานหลัก และโครงการที่จะต้องจัดทำตามยุทธศาสตร์การบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแบบบูรณาการและยั่งยืน ที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการด้านการวางแผนและกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เนื่องจากเห็นว่างานหลักและโครงการของ กยน.ยังไม่มีรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ พื้นที่ หน่วยงานรับผิดชอบ และระยะเวลา รวมทั้งผลกระทบต่อชุมชน ระบบนิเวศ รวมทั้งการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงมีมติให้ทบทวนงานหลักดังกล่าว และให้เกิดการเชื่อมประสานระหว่างคณะกรรมการ กยน. และภาคีเครือข่ายสภาลุ่มน้ำภาคเหนือ โดยให้มีคณะกรรมการภาคีเข้าไปเป็นคณะทำงานระดับพื้นที่จำนวน 11คน
ผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือ พอช. กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติเป็นข้อตกลงร่วมกัน ว่า จะส่งเสริมกิจกรรมการดูแลพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำและภัยพิบัติภาคเหนือ จัดทำฐานข้อมูลลุ่มน้ำ นำไปสู่วิเคราะห์ร่วมกับหน่วยงานอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี จัดทำแผนแม่บทพัฒนาลุ่มน้ำระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว แบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จัดตั้งสภาลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำ คู่ขนานกับระดับภาค จัดตั้งภาคีเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ที่จะดำเนินการในฐานะคณะกรรมการ กยน.ภาคประชาชนภาคเหนือ โดยใช้สภาองค์กรชุมชนและภาคเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
ผู้จัดการสำนักงานภาคเหนือ พอช. กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติเป็นข้อตกลงร่วมกัน ว่า จะส่งเสริมกิจกรรมการดูแลพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำและภัยพิบัติภาคเหนือ จัดทำฐานข้อมูลลุ่มน้ำ นำไปสู่วิเคราะห์ร่วมกับหน่วยงานอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี จัดทำแผนแม่บทพัฒนาลุ่มน้ำระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว แบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จัดตั้งสภาลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำ คู่ขนานกับระดับภาค จัดตั้งภาคีเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ที่จะดำเนินการในฐานะคณะกรรมการ กยน.ภาคประชาชนภาคเหนือ โดยใช้สภาองค์กรชุมชนและภาคเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือเป็นกลไกในการขับเคลื่อน