นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อม พบซากโลมา 615 ตัวตามแนวชายฝั่งของเปรู ระยะทาง 135 กิโลเมตร ส่งผลให้ยอดโลมาที่ขึ้นมาตายหมู่ เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ตัว นับตั้งแต่เปรูเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน
นักวิจัยของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ทะเล ของเปรู ตรวจซากโลมา ไม่พบบาดแผลที่เกิดจากการประมง หรือได้รับพิษ แต่พบรอยแตกในกระดูกหูชั้นกลาง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า เมาความกดอากาศ
การพบร่องรอยของอาการดังกล่าว ทำให้นักวิจัยสรุปสาเหตุทำให้โลมาตาย ว่าน่าจะเกิดจากการใช้ระบบโซนาร์น้ำลึกของอุตสาหกรรมเดินเรือ รวมทั้งการใช้ระบบโซนาร์ ในการค้นหาแหล่งน้ำมันในทะเล
โดยคลื่นโซนาร์ที่ปล่อยออกมาจะส่งผลกระทบและเป็นอันตรายกับสัตว์ที่ติดต่อสื่อสารกัน โดยใช้คลื่นความถี่ใกล้เคียงกับคลื่นโซนาร์
นักวิจัยของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ทะเล ของเปรู ตรวจซากโลมา ไม่พบบาดแผลที่เกิดจากการประมง หรือได้รับพิษ แต่พบรอยแตกในกระดูกหูชั้นกลาง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า เมาความกดอากาศ
การพบร่องรอยของอาการดังกล่าว ทำให้นักวิจัยสรุปสาเหตุทำให้โลมาตาย ว่าน่าจะเกิดจากการใช้ระบบโซนาร์น้ำลึกของอุตสาหกรรมเดินเรือ รวมทั้งการใช้ระบบโซนาร์ ในการค้นหาแหล่งน้ำมันในทะเล
โดยคลื่นโซนาร์ที่ปล่อยออกมาจะส่งผลกระทบและเป็นอันตรายกับสัตว์ที่ติดต่อสื่อสารกัน โดยใช้คลื่นความถี่ใกล้เคียงกับคลื่นโซนาร์