ภาพลายคำรูปเทวดา บริเวณประตูวิหารพระพุทธ และลายคำเสาวิหารน้ำแต้ม ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง มีการบูรณะโดยปิดทองทับและวาดลวดลายขึ้นใหม่จนไม่เหลือสภาพเดิม สร้างความกังวลใจให้กับชาวบ้าน และนักวิชาการ จนมีการร้องเรียนถึงความไม่เหมาะสม และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ
การบูรณะครั้งนี้ กรมศิลปากรระบุว่า มีการว่าจ้างบริษัทรับเหมาเข้ามาดำเนินการบูรณะซ่อมแซมหลังคา ตัวอาคาร วิหารน้ำแต้ม และวิหารพระพุทธ ส่วนภาพลายคำเทวดาที่เห็น ยังคงเป็นลายเส้นเดิม แต่ไม่ได้ลงสีให้ชัดเจน ส่วนลายคำที่เสาวิหาร มีการซ่อมแซมบางจุด เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ระบุว่า จะบูรณะเฉพาะที่สีหลุดลอกเท่านั้น ส่วนที่เหลือคงสภาพเดิม
ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม จ.ลำปาง ระบุว่า ลายคำทั้ง 2 จุด เป็นการทำใหม่ไม่ใช่การบูรณะ ควรมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้
ภาพลายคำภายในวิหารพระพุทธแห่งนี้ อายุไม่น้อยกว่า 300 ปี เป็นการสร้างลวดลายบนผิวทองคำเปลวด้วยเทคนิคพิเศษ คือการใช้วัสดุปลายแหลมขูดอย่างละเอียดประณีต พบเฉพาะในพื้นที่ภาพเหนือ และไม่ปรากฏการสืบทอดฝีมือช่าง โดยลายคำเทวดาชิ้นนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด และได้รับการยกย่องว่า งดงามที่สุดของศิลปะล้านนา
ล่าสุด กรมศิลปากรเตรียมเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง ภายในวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2555
การบูรณะครั้งนี้ กรมศิลปากรระบุว่า มีการว่าจ้างบริษัทรับเหมาเข้ามาดำเนินการบูรณะซ่อมแซมหลังคา ตัวอาคาร วิหารน้ำแต้ม และวิหารพระพุทธ ส่วนภาพลายคำเทวดาที่เห็น ยังคงเป็นลายเส้นเดิม แต่ไม่ได้ลงสีให้ชัดเจน ส่วนลายคำที่เสาวิหาร มีการซ่อมแซมบางจุด เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ระบุว่า จะบูรณะเฉพาะที่สีหลุดลอกเท่านั้น ส่วนที่เหลือคงสภาพเดิม
ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม จ.ลำปาง ระบุว่า ลายคำทั้ง 2 จุด เป็นการทำใหม่ไม่ใช่การบูรณะ ควรมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้
ภาพลายคำภายในวิหารพระพุทธแห่งนี้ อายุไม่น้อยกว่า 300 ปี เป็นการสร้างลวดลายบนผิวทองคำเปลวด้วยเทคนิคพิเศษ คือการใช้วัสดุปลายแหลมขูดอย่างละเอียดประณีต พบเฉพาะในพื้นที่ภาพเหนือ และไม่ปรากฏการสืบทอดฝีมือช่าง โดยลายคำเทวดาชิ้นนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด และได้รับการยกย่องว่า งดงามที่สุดของศิลปะล้านนา
ล่าสุด กรมศิลปากรเตรียมเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง ภายในวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2555