การชุมนุมของชาวบ้านตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ปิดทางเข้า-ออกโรงแยกก๊าซธรรมชาติ อำเภอจะนะ ต่อเนื่องวันนี้ ( 12 มี.ค.) เป็นวันที่ 4 แล้ว เพื่อเรียกร้องเงินเยียวยาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ จำนวน 30,000 บาทต่อปี รวม 150 หลังคาเรือน โดยการชุมนุมดังกล่าว ส่งผลให้รถบรรทุกขนส่งสินค้าจำนวน 140 คัน จอดติดค้างอยู่ในสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี ริมถนนสายเอเซีย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวีพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ที่รับก๊าซจากโรงแยกก๊าซจะนะ ไม่มีก๊าซจำหน่าย
นายกฤษดา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และผู้บริหารระดับสูงของโรงแยกก๊าซ จะมีการเข้าเจรจาหาทางออกร่วมกับแกนนำชาวบ้านอีกครั้งในวันนี้ โดยแนวทางการหารือคือ เดิมทีผู้ชุมนุมต้องการให้โรงแยกก๊าซจ่ายเงินเยียวยาครอบครัวละ 30,000 บาทต่อปีเป็นจำนวน 200 ครอบครัว ซึ่งเมื่อวานนี้ ตนได้หารือกับโรงแยกก๊าซแล้ว ซึ่งทางโรงแยกก๊าซอ้างว่า มีการตรวจสอบสุขภาพ และพบว่าชาวบ้านไม่ได้รับผลกระทบจากโรงแยกก๊าซดังกล่าว ทำให้ต้องกลับไปที่ข้อเรียกร้องเดิม คือ 1 จากเดิมบริษัทฯ ตกลงจะตั้งกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 500,000 บาท แต่ผ่านมา 5 เดือน โรงแยกก๊าซไม่ได้ลงไปดู และเงินพัฒนากองทุนลงดังกล่าว ชาวบ้านไม่ได้มีส่วน 2 ชาวบ้านอ้างว่า น้ำดื่มไม่สะอาด ได้ขอโรงแยกก๊าซปรับปรุงระบบการจ่ายน้ำ และ ตั้งโรงกรองน้ำประปาให้ชาวบ้านในหมู่ 2 และหมู่ 8 ที่อยู่ติดกับโรงงาน ซึ่งทางโรงแยกก๊าซยินยอมในข้อตกลง และ 3 ตั้งกองทุนสุขภาพประจำตำบลได้ขอให้โรงแยกก๊าซให้เงินทุนก้อนหนึ่งช่วยชาวบ้านคือ หากมีการเจ็บป่วยชาวบ้านสามารถไปขอเบิกจ่ายจากกองทุนนี้ได้
นายกฤษดา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และผู้บริหารระดับสูงของโรงแยกก๊าซ จะมีการเข้าเจรจาหาทางออกร่วมกับแกนนำชาวบ้านอีกครั้งในวันนี้ โดยแนวทางการหารือคือ เดิมทีผู้ชุมนุมต้องการให้โรงแยกก๊าซจ่ายเงินเยียวยาครอบครัวละ 30,000 บาทต่อปีเป็นจำนวน 200 ครอบครัว ซึ่งเมื่อวานนี้ ตนได้หารือกับโรงแยกก๊าซแล้ว ซึ่งทางโรงแยกก๊าซอ้างว่า มีการตรวจสอบสุขภาพ และพบว่าชาวบ้านไม่ได้รับผลกระทบจากโรงแยกก๊าซดังกล่าว ทำให้ต้องกลับไปที่ข้อเรียกร้องเดิม คือ 1 จากเดิมบริษัทฯ ตกลงจะตั้งกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 500,000 บาท แต่ผ่านมา 5 เดือน โรงแยกก๊าซไม่ได้ลงไปดู และเงินพัฒนากองทุนลงดังกล่าว ชาวบ้านไม่ได้มีส่วน 2 ชาวบ้านอ้างว่า น้ำดื่มไม่สะอาด ได้ขอโรงแยกก๊าซปรับปรุงระบบการจ่ายน้ำ และ ตั้งโรงกรองน้ำประปาให้ชาวบ้านในหมู่ 2 และหมู่ 8 ที่อยู่ติดกับโรงงาน ซึ่งทางโรงแยกก๊าซยินยอมในข้อตกลง และ 3 ตั้งกองทุนสุขภาพประจำตำบลได้ขอให้โรงแยกก๊าซให้เงินทุนก้อนหนึ่งช่วยชาวบ้านคือ หากมีการเจ็บป่วยชาวบ้านสามารถไปขอเบิกจ่ายจากกองทุนนี้ได้