นายแก้ว สังข์ชู กรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)เปิดเผยว่า คณะกรรมการพอช.และที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชน ต. คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคงบ้านช้าง ต.บ้านนา อ.บ้านนา จ.นครนายก ซึ่งคณะกรรมการสถาบันได้ร่วมธีมอบสำเนาทะเบียนบ้านชุมชนบ้านช้างมั่นคง จำนวน 9 หลัง ให้แก่ผู้แทนชุมชน ก่อนเยี่ยมชมบ้านและสมาชิกในโครงการโดยมีอาจารย์และนักศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันอาศรมศิลป์ และเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมศึกษาดูงานด้วย
นายละอองดาว ศิลาน้ำเที่ยง ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.คลองหินปูน กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินได้ใช้เวทีสภาองค์กรชุมชนเป็นหลักในการรวมคน หาผู้เดือดร้อนมาคุยกัน มีการจัดทำข้อมูลตำบล แผนที่ทำมือ วางแผนพัฒนาตำบล จากนั้นจึงจัดตั้งกองทุนที่ดินระดับตำบล ให้สมาชิกจ่ายวันละบาทเข้ากองทุน โดยคัดเลือกตัวแทนหมู่ละ 2 คน มาร่วมบริหารจัดการ และเกิดเป็นคณะทำงานระดับจังหวัด ซึ่งตั้งแต่ปี 2554 กองทุนที่ดินตำบลคลองหินปูนได้ช่วยเหลือชาวบ้านให้มีที่อยู่อาศัยแล้ว 16 ครัวเรือน และช่วยเหลือผู้ไร้ที่ดินทำกินแล้ว 21 ราย
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะจัดสรรที่อยู่อาศัยให้ผู้เดือดร้อนเพิ่มเติมอีก 30 ครัวเรือน โดยยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาจากเจ้าของที่ แม้ว่าในภาพรวมขณะนี้ ต.คลองหินปูน จะมีผู้เดือนร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน 920 ครัวเรือน จาก 3,022 ครัวเรือน แต่กองทุนก็พยายามแก้ไขปัญหา โดยการช่วยไถ่ถอนโฉนดที่ดินจากนายทุนกลับมาให้ผู้เดือนร้อนอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการจัดสรรที่ดินเปล่าให้ผู้เดือดร้อนโดยตรง
นางจำเนียร เรือชื่อชู ประธานสหกรณ์บ้านช้างมั่นคง กล่าวว่า เดิมชุมชนบ้านช้างเป็นชุมชนแออัด ไม่มีระบบสาธารณูปโภค สมาชิกฐานะยากจน เมื่อ พอช.เข้าไปช่วยแนะนำให้ออมเงิน เพื่อสร้างบ้าน ตอนแรกก็ไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่ปัจจุบันสามารถทำได้สำเร็จ เริ่มจากการพยายามรวมกลุ่มคนที่ต้องการมีบ้านได้ 35 คน ออมกันวันละ 10 บาท เมื่อเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง สมาชิกก็มากขึ้น ทางอำเภอเข้ามาช่วยเหลือ และได้ก่อตั้งเป็นสหกรณ์ มีการทำความเข้าใจกับสมาชิกเรื่องการจัดหาที่ดิน ประชุมแบ่งแปลง รายละเอียดแบบบ้านที่ต้องการ โดยแบบบ้านที่สมาชิกจะได้รับต้องสัมพันธ์กับรายได้-รายจ่าย ของสมาชิก ส่วนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค หากเงินออมของสมาชิกไม่พอจึงจะขอความช่วยเหลือจากท้องถิ่น หรือหน่วยงานภายนอก
นายละอองดาว ศิลาน้ำเที่ยง ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.คลองหินปูน กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินได้ใช้เวทีสภาองค์กรชุมชนเป็นหลักในการรวมคน หาผู้เดือดร้อนมาคุยกัน มีการจัดทำข้อมูลตำบล แผนที่ทำมือ วางแผนพัฒนาตำบล จากนั้นจึงจัดตั้งกองทุนที่ดินระดับตำบล ให้สมาชิกจ่ายวันละบาทเข้ากองทุน โดยคัดเลือกตัวแทนหมู่ละ 2 คน มาร่วมบริหารจัดการ และเกิดเป็นคณะทำงานระดับจังหวัด ซึ่งตั้งแต่ปี 2554 กองทุนที่ดินตำบลคลองหินปูนได้ช่วยเหลือชาวบ้านให้มีที่อยู่อาศัยแล้ว 16 ครัวเรือน และช่วยเหลือผู้ไร้ที่ดินทำกินแล้ว 21 ราย
นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะจัดสรรที่อยู่อาศัยให้ผู้เดือดร้อนเพิ่มเติมอีก 30 ครัวเรือน โดยยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาจากเจ้าของที่ แม้ว่าในภาพรวมขณะนี้ ต.คลองหินปูน จะมีผู้เดือนร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน 920 ครัวเรือน จาก 3,022 ครัวเรือน แต่กองทุนก็พยายามแก้ไขปัญหา โดยการช่วยไถ่ถอนโฉนดที่ดินจากนายทุนกลับมาให้ผู้เดือนร้อนอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการจัดสรรที่ดินเปล่าให้ผู้เดือดร้อนโดยตรง
นางจำเนียร เรือชื่อชู ประธานสหกรณ์บ้านช้างมั่นคง กล่าวว่า เดิมชุมชนบ้านช้างเป็นชุมชนแออัด ไม่มีระบบสาธารณูปโภค สมาชิกฐานะยากจน เมื่อ พอช.เข้าไปช่วยแนะนำให้ออมเงิน เพื่อสร้างบ้าน ตอนแรกก็ไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่ปัจจุบันสามารถทำได้สำเร็จ เริ่มจากการพยายามรวมกลุ่มคนที่ต้องการมีบ้านได้ 35 คน ออมกันวันละ 10 บาท เมื่อเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง สมาชิกก็มากขึ้น ทางอำเภอเข้ามาช่วยเหลือ และได้ก่อตั้งเป็นสหกรณ์ มีการทำความเข้าใจกับสมาชิกเรื่องการจัดหาที่ดิน ประชุมแบ่งแปลง รายละเอียดแบบบ้านที่ต้องการ โดยแบบบ้านที่สมาชิกจะได้รับต้องสัมพันธ์กับรายได้-รายจ่าย ของสมาชิก ส่วนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค หากเงินออมของสมาชิกไม่พอจึงจะขอความช่วยเหลือจากท้องถิ่น หรือหน่วยงานภายนอก