นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า แนวทางการจัดการบริหารน้ำในเขื่อนของ กฟผ.ที่ยึดตามแผนของรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในขณะนั้น เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำอยู่ที่ร้อยละ 65 ของความจุ อัตราการระบายน้ำปัจจุบันอยู่ที่ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน ขณะเดียวกันเขื่อนสิริกิติ์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำอยู่ที่ร้อยละ67 ของความจุ อัตราการระบายน้ำอยู่ที่ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน ซึ่งการระบายน้ำในอัตรานี้ของทั้ง 2 เขื่อนจะทำอย่างต่อเนื่องถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ เพื่อให้ระดับน้ำในวันที่ 1 พฤษภาคม อยู่ที่ร้อยละ 45 ของความจุ
ทั้งนี้ ปัจจุบันทั้ง 2 เขื่อน มีพื้นที่รับน้ำรวมกัน 7,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และเมื่อถึงเดือนเมษายนนี้ ที่เป็นไปตามแผนระบายน้ำ จะสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะมีการติดตามสถานการณ์พยากรณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูฝนมากขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการปรับแผนในการใช้ไฟฟ้า และการระบายน้ำของเขื่อนให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งมีความกังวลถึงในช่วงฤดูแล้ง หากเป็นปีน้ำน้อยปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ อาจไม่เพียงพอต่อการใช้ภาคการเกษตร
ทั้งนี้ ปัจจุบันทั้ง 2 เขื่อน มีพื้นที่รับน้ำรวมกัน 7,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และเมื่อถึงเดือนเมษายนนี้ ที่เป็นไปตามแผนระบายน้ำ จะสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะมีการติดตามสถานการณ์พยากรณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูฝนมากขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการปรับแผนในการใช้ไฟฟ้า และการระบายน้ำของเขื่อนให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งมีความกังวลถึงในช่วงฤดูแล้ง หากเป็นปีน้ำน้อยปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ อาจไม่เพียงพอต่อการใช้ภาคการเกษตร